วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์ไทยโพสต์

แผนน้ำ3แสนล้านจุดสลบรัฐบาลยิ่งลักษณ์
  • 20 สิงหาคม 2555
ผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยปีที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลทำงานภายใต้ความคาดหวังของสังคมว่าจะแก้ปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อลบภาพความล้มเหลวที่เคยเกิดขึ้น ทั้งเรื่องความพร้อมของโครงสร้างในการรับมือน้ำ ไปจนถึงโครงสร้างการบริหารจัดการในภาพรวม จนเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการหลายชุด
ไม่ว่าจะเป็น กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)ที่ดึงเอารุ่นใหญ่อย่าง สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา มาเป็นที่ปรึกษา หรือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่ดึงเอา วีรพงษ์ รามางกูร มาเป็นที่ปรึกษา
ตามมาด้วยการตั้งคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) ซึ่งมีสุเมธเป็นที่ปรึกษาเช่นกัน และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานเอง โดยนำข้อเสนอเรื่องน้ำทั้งหมดจาก กยน. ส่งไม้ต่อให้ ปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ที่เพิ่งตั้งขึ้นพร้อมกับ กนอช.ยึดอำนาจเด็ดขาด ผูกการจัดการน้ำทั้งหมด
ทั้งนี้ มีหน่วยงานลูก ได้แก่ สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) เป็นนิติบุคคลในการทำงาน ยึดสภาพการทำงานกรมชลประทานโดยสมบูรณ์แบบ ภายใต้งบประมาณมหาศาลกว่า3 แสนล้านบาท
ในเวลานั้น แม้ กยน.จะมีผู้เชี่ยวชาญเสนอแนวคิดต่างๆ มากมาย แต่พอถึงขั้นตอนปฏิบัติการ ภายใต้การกุมบังเหียนของปลอดประสพกลับยังไม่มีรูปแบบชัดเจนว่าจะเดินต่ออย่างไร ขณะเดียวกันงบประมาณกว่า 3 แสนล้านบาทก็โดนกลุ่มการเมืองรุมทึ้งไม่เว้นแต่ละวัน
จนในที่สุด กบอ.ก็ตัดสินใจเปิดประมูลทีโออาร์บริหารจัดการน้ำและอุทกภัยทั้งระบบ มูลค่า 3 แสนล้านบาท เพื่อระดมความคิดไปสู่การปฏิบัติจริง โดยให้กิจการร่วมค้าทั้งไทยและต่างชาติมาร่วมกันเสนอความคิดในการแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ ภายใต้ 8 หัวข้อ ไล่ตั้งแต่การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าและดิน การสร้างอ่างเก็บน้ำ การจัดทำผังการใช้ที่ดิน การปรับปรุงพื้นที่เกษตรชลประทาน การปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลัก การจัดทำทางน้ำหลาก (ฟลัดเวย์) การปรับปรุงระบบคลังข้อมูล การปรับปรุงองค์กรจัดการน้ำ

ทั้งนี้ ให้เวลา 1 เดือนในการยื่นโครงการ และจะตัดสินบริษัทที่ได้รับงานในวันที่ 31 ม.ค. 2555
ที่น่าสนใจก็คือ ในกรอบแนวคิดฉบับนี้มีโครงการอย่างเขื่อนแม่วงก์ หรือเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่มีปัญหามานานกว่า 20 ปี บรรจุเข้าไปด้วย โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ เพียงงบประมาณและพื้นที่ที่ก่อสร้างเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ฟลัดเวย์ อ่างเก็บน้ำ หรือการฟื้นฟูป่า กลับไม่ได้ระบุพื้นที่ชัดเจน และไม่มีแม้แต่การศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ หรือผลกระทบจากชุมชนรอบข้างแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน กบอ.ก็เลือกให้บริษัทที่เข้ามาออกแบบและก่อสร้าง (ดีไซน์แอนด์บิลด์) ในคราวเดียวกัน ทั้งที่มีงบประมาณมากกว่า 3 แสนล้านบาท รอให้บริษัทไทยและต่างชาติเข้ามาร่วมสังฆกรรม
ในที่สุดโครงการก็ถูกดาหน้าถล่มจากองค์กรวิชาชีพ อย่างวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย เนื่องจากกบอ. กำหนดว่าบริษัทที่เข้ารับการประมูล ต้องเคยทำโครงการของรัฐมาแล้ว ในมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือถ้าเป็นกิจการร่วมค้า ต้องทำโครงการไม่ต่ำกว่าบริษัทละ 2,000 ล้านบาท ทำให้ตัดโอกาสที่บริษัทไทยส่วนใหญ่จะเข้าแบ่งเค้กด้วยไปโดยปริยาย
ขณะเดียวกันก็โดนก๊อกสองเข้าอีก เมื่อต่อตระกูล ยมนาค ประธานกลุ่มวิศวกรเพื่อชาติ นำบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนออกมาแฉว่าทั้งสองเคยทำเอ็มโอยูร่วมกัน โดยไทยเปิดโอกาสให้รัฐบาลจีนเข้ามาวางระบบบริหารลุ่มน้ำอย่างละเอียด ตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ทั้งที่รัฐบาลเพิ่งจะเปิดการประมูลในวันที่ 24 ก.ค.ปีนี้ และยืนยันว่าจะให้บริษัทต่างชาติได้รับโอกาสเท่าเทียมกันในการประมูลโครงการ
...ท่ามกลางเสียงร่ำลือว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของจีน ที่คว้างานสร้างเขื่อนในภูมิภาคอาเซียนหลายเขื่อน กำลังแต่งตัวรอรับงานวางระบบน้ำในไทยอยู่
แม้เสียงวิจารณ์ของบริษัทในไทยจะไม่เล็ดลอดออกมามากนัก แต่บริษัทต่างชาติที่ตั้งใจจะเข้าร่วมโครงการนี้กลับส่ายหัว เพราะไม่มีข้อมูลโครงการต่างๆ เท่ากับบริษัทจีน
เมื่อโดนหนักเข้า ในที่สุด กบอ.ก็ออกมาแก้เกี้ยวด้วยการปรับลดวงเงินให้เหลือ 10% ของแต่ละโครงการแทน และให้ขยายเวลาจากที่ต้องยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 24 ส.ค. เป็นวันที่ 24 ก.ย.
กระนั้นเอง ข้อสงสัยเรื่องการออกแบบและก่อสร้างที่อาจเอื้อให้เกิดการทุจริตก็ยังคงอยู่ ไม่ต่างจากเสียงที่ต้องการให้มีการศึกษา และจัดลำดับความสำคัญว่าจะทำอะไรก่อนหลัง พลันนั้นเองก็มีเสียงตัดพ้อจากกรมชลประทานดังขึ้นมาใหม่เพิ่มอีกหน่วยงานหนึ่ง
ส่วนราชการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ โดยเฉพาะกรมชลประทานถูกทำลายลงและจำกัดเสียงทั้งหมด ไม่กล้าเสนอแนะอะไร พูดอยู่คำเดียวว่า ท่านรัฐมนตรีจะเอาอย่างไรก็เอา หรือแม้กระทั่งท่านธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ก็ยังไม่กล้าพูดข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับน้ำ โดยบอกว่าอยู่ที่ กบอ. น่าเป็นห่วงว่าจะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการได้อย่างไรคือคำตัดพ้อของ ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และกรรมการ กยน. เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา
สอดรับกับเสียงของ บรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งรับหน้าเสื่อดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ออกมาระบุว่า งบประมาณกรมชลประทานประจำปี 2556 ถูกตัดลงเพียบ จากที่ตั้งไว้ 4.8 หมื่นล้านบาท กลับเหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาท โดยส่วนที่หายไปนั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาลอ้างว่าควรไปอยู่ในทีโออาร์ 3 แสนล้านบาท
ทำให้บรรหารกังวลว่า กว่าโครงการของกบอ.จะเริ่มต้นและทำให้เห็นผลได้ จะต้องใช้เวลาอีกนานหลายปี และทำให้ประเทศไทยยังคงเสี่ยงกับเหตุการณ์น้ำท่วมในอีก 12 ปีข้างหน้า
ไม่ว่าเสียงเตือนของบรรหารจะมาจากความจริงใจ หรือมีวาระแอบแฝง แต่ก็คือเสียงที่ตรงกับข้าราชการส่วนใหญ่ในกรมชลประทาน วสท. นักวิชาการด้านน้ำ คณะกรรมการ กยน. หรือแม้แต่เครือข่ายต้านคอร์รัปชั่น ที่รอให้รัฐบาลออกมาสางปมร้อนนี้ให้ได้ เพราะหากปล่อยให้มีบริษัทที่ได้รับการประมูลได้โครงการไป ก็ยังไม่มีอนาคตว่าระบบน้ำของประเทศจะมีรูปร่างเป็นอย่างไร
หลายคนถึงกับตั้งข้อสังเกตว่า ดีไม่ดี โครงการน้ำที่หวังจะเชิดหน้าชูตาประเทศชิ้นนี้ อาจเป็นซากปรักหักพังมูลค่ามหาศาล มากกว่าอนุสาวรีย์คอนกรีตของโครงการโฮปเวลล์เสียด้วยซ้ำ
ไม่นับว่ามีอีกหลายบริษัทและองค์กรประชาสังคมที่รอฟ้องศาลปกครอง หากโครงการที่ออกมาจากบริษัทเหล่านี้ไปกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสิทธิของชุมชน
กลายเป็นว่าผลงานที่รัฐบาลคาดหวังจะเป็นตัวชูโรงอย่างการแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ กลับกลายเป็นนโยบายที่ถูกตั้งคำถามมากที่สุด เพราะฉะนั้น หากไม่กลับไปตั้งหลักด้วยการทบทวน ศึกษาความเป็นไปได้ และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการอย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งหากไม่หัดรับฟังผู้มีประสบการณ์บ้าง ก็หนีไม่พ้นความหายนะของโครงการในอนาคต
ดีไม่ดีประเทศไทยอาจต้องเผชิญวิบากกรรมน้ำท่วมเช่นปี 2554 อีกครั้ง และมีซากปรักหักพังเรี่ยราดไว้ให้คนไทยคอยตามเช็ด

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความมติชน



ประธาน วุฒิสภา มิติ แนวโน้ม ′สำคัญ′ ของ การเมืองไทย

 

ทั้งๆ ที่การเลือกตั้งประธานวุฒิสภาคนใหม่เพื่อแทน พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ซึ่งต้องหลุดจากตำแหน่งไปมีความสำคัญเป็นอย่างสูง

แต่การเคลื่อนไหวเพื่อชิงตำแหน่งนี้ค่อนข้างเงียบ

แม้จะมีรายชื่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะเต็ง 1 แต่ก็แทบไม่มีหลักประกันอันใดให้มั่นใจ

เหตุเพราะ นายนิคม ไวยรัชพานิช เป็น ส.ว.เลือกตั้ง

หากคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในหมวดว่าด้วยวุฒิสภาก็จะประจักษ์ว่าน้ำหนักโน้มไปทาง ส.ว.สรรหามากกว่า

ส.ว.เลือกตั้งดำเนินไปอย่างกระจัด กระจาย 76 จังหวัด

ขณะที่ ส.ว.สรรหาดำเนินไปอย่างเป็น กลุ่มก้อนจากคณะกรรมการสรรหาที่แบ่งสรรปันผลประโยชน์กันและกัน

จึงมีความเป็นเอกภาพมากกว่าที่มาจากการเลือกตั้ง

หากประเมินจากประธานวุฒิสภาคนที่ 1 นายประสพสุข บุญเดช ก็มาจากสายสรรหาประธานวุฒิสภาคนที่ 2 พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ก็มาจากสายสรรหา

สรรหามาแรง



กระนั้น หากดูจากสถานการณ์โดยรวมก็ไม่แน่ว่ากลุ่มการเมือง ซึ่งเคยร่วมกันสร้างสถานการณ์จนนำไปสู่รัฐประหารเดือนกันยายน 2549 จะยังเป็นเอกภาพ แน่นเหนียวอยู่หรือไม่

เห็นได้จากการแตกแถวออกมาของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

เห็นได้จากการขัดแย้ง แตกแยก ต่างคนต่างเดินระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ส่งผลสะเทือนไปยัง ส.ว.อย่างเลี่ยง ไม่พ้น

เห็นได้จากความสามารถของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการต่อสายไปยังข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกุมอย่างเบ็ดเสร็จในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

โดยเฉพาะสัมพันธ์อันดีวันดีคืนต่อ ผบ.เหล่าทัพ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และแม้กระทั่งกองทัพอากาศ

ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งไปยัง ส.ว. อย่างเลี่ยงไม่พ้น

ตามปกติการเคลื่อนไหวของ ส.ว.ที่อึกทึกครึกโครมอย่างยิ่งมักจะมาจากกลุ่ม 40 ส.ว.แต่ต่อสถานการณ์ปัจจุบันกลับเงียบอย่างผิดปกติ นี่ย่อมเป็นผลจากความขัดแย้ง แตกแยกระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรอย่างมีนัยสำคัญ

อ่านเกมยาก



หากประเมินจากการประลองกำลังระหว่างขบวนการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 กับ พรรคเพื่อไทย ผ่านเวทีศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมองเห็นเบาะแสบางอย่างทางการเมือง

สถานการณ์ไม่เหมือนกับเมื่อเดือนกันยายน และเดือนธันวาคม 2551

แม้ว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพันธ มิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องการให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกเชือดเหมือนกับที่ นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ถูกเชือดมาแล้วอย่างเลือดเย็น

แต่สถานการณ์ในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555 กลับไม่เป็นอย่างนั้น

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย พร้อมกับพันธมิตรอย่าง พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล เยือกเย็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ รอบคอบเพิ่มขึ้นในการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

เป็นผลให้พรรคประชาธิปัตย์ทำอะไรไม่ถูก เป็นผลให้เกิดภาวะชะงักงันภายในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เช่นเดียวกับ กรณีการประลองกำลังกันภายในสมาชิกวุฒิสภา

แม้มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูงว่าความเป็นกลุ่มก้อนของ ส.ว.สรรหายังดำรงอยู่ กระนั้นคำถามยังอยู่ที่ว่าพวกเขาจะเลือกใครให้ขึ้นมายืนอยู่หัวขบวน

คนของใคร



การเลือกตั้งประธานุวุฒิสภาในวันที่ 14 สิงหาคม จึงทรงผลสะเทือนเป็นอย่างสูงทางการเมือง

ตัวบุคคลที่จะมาแทน พล.อ.ธีรเดช มีเพียร จะเป็นหลักไมล์อันสะท้อนภาพทาง การเมืองว่ากำลังจะดำเนินไปในทิศทางใด ประนีประนอมหรือว่าเดินหน้าแตกหักเข่นฆ่ากันสถานเดียว

บทวิเคราะห์ไทยโพสต์

จัดทัพบิ๊กขรก.108 เก้าอี้ สร้างบารมีปู-สู้ประชามติ
  • 10 สิงหาคม 2555
ระเบิดการเมืองที่จะทำให้รัฐบาลต้องเผชิญกับแรงต่อต้านอย่างหนัก มีอยู่ 2 เรื่องหลัก คือ การแก้รัฐธรรมนูญ 2550 และร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่ารัฐบาลอาจจะเลือกแนวทางจัดทำประชามติ และแน่นอนรัฐบาลต้องใช้กำลังภายในอย่างมาก ในการขับเคลื่อนทั้งงบประมาณแผ่นดิน เพื่อระดมคะแนนเสียงให้ได้อย่างน้อย 22-23 ล้านเสียง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องสร้างความนิยมจากประชาชน เพื่อให้อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุด
ฉะนั้น เครื่องมือกลไกสำคัญ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายของรัฐบาลในทางการเมืองได้ คือ ต้องคุมข้าราชการให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และจากนี้ไปจะได้เห็นการแต่งตั้งโยกย้ายในระดับหัวแถวแทบทุกกระทรวง เพื่อต้องการวางรากฐานมือไม้ที่ไว้ใจเข้ามาตอบสนองนโยบาย เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับรัฐบาลอย่างยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในปีนี้ตำแหน่งหัวแถวของข้าราชการเปิดกว้างมาก เพราะตำแหน่งระดับ หัวที่กุมกลไกภาครัฐทั้ง 20 กระทรวง ปลดระวางหรือเกษียณอายุพร้อมกันจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 108 คน
ระดับปลัดกระทรวง เกษียณ 8 คน คือ สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม จีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ พระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ขณะที่ระดับรองปลัดกระทรวง เกษียณ 24 คน ระดับผู้ตรวจ 21 คน ระดับอธิบดี 26 คน และที่น่าจับตามอง คือ ระดับผู้ว่าราชการจังหวัด 16 จังหวัด และระดับเอกอัครราชทูต 13 ตำแหน่ง รวมผู้บริหารระดับสูงที่เกษียณอายุราชการในปีนี้ ทั้งสิ้น 108 ตำแหน่ง
1 ปีที่ผ่านมา มีบางตัวอย่างการแต่งตั้งโยกย้ายที่สังคมกังขาว่าส่อหมิ่นเหม่ว่าเป็นการดึงพรรคพวกญาติพี่น้องของตัวเองเข้ามารับตำแหน่ง เพื่อมาเป็นมือไม้ในการทำงานมากกว่ายึดหลักคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ความสามารถ
ตัวอย่าง 2 กรณีในการแต่งตั้งโยกย้ายที่เป็นข่าวโจษจันและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ว่า เป็นการโยกย้ายโดยสายตรงจากฝ่ายการเมือง โดยที่มีเป้าหมาย ล้างบางขั้วอำนาจเก่าสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เรืองอำนาจ รวมถึงต้องการเปิดทางให้บุคคลที่เป็นมือเป็นไม้ขึ้นมาทำงาน ตั้งแต่วันแรกๆ ที่รัฐบาลเข้ามาทำงานใหม่ๆ คือ การเด้ง ถวิล เปลี่ยนศรี พ้นเก้าอี้เลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ


ทั้งนี้ เพื่อเปิดทางให้กับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. ที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน เพื่อ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. ขึ้นมาทำหน้าที่ ผบ.ตร.แทน ทำให้ ถวิล ตกเก้าอี้ เลขาธิการ สมช. มานั่งตบยุงเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
อีกกรณีในกระทรวงการคลัง แม้จะมีการโยกย้ายชุดใหญ่รวดเดียว 6 เก้าอี้ ได้แก่ สมชาย พูลสวัสดิ์ จาก รองปลัด ไปเป็น อธิบดีกรมศุลกากร เบญจา หลุยเจริญ รองปลัด เป็น อธิบดีกรมสรรพสามิต นริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็น อธิบดีกรมธนารักษ์ สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมศุลกากร เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เป็น รองปลัด
เป็นที่น่าประหลาดใจมาก เพราะการโยกย้ายล็อตใหญ่ครั้งนี้สังคมกลับไปให้ความสำคัญหรือโฟกัสแค่ตำแหน่งที่เบญจามากกว่าทุกๆ คน เพราะทราบกันดีว่าเบญจาเป็นคนสนิทเจ้าของบ้านจันทร์ส่องหล้า ซึ่งก่อนหน้านี้เคยถูกวางตัวว่าจะให้ดูแลกรมเกรดเออย่างกรมสรรพากร แต่เนื่องจากถูกกังขาในกรณีการเก็บภาษีหุ้นครอบครัวชินวัตรรัฐบาลที่ผ่านมาจึงไม่ได้ขยับ
ดังนั้น การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการในปีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี และผู้มีอำนาจในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย คงจะสมใจในการจัดวางคนของตัวเองเข้ามากุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ
แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะเป็นบวกเสมอ หากการดำเนินการดังกล่าวปราศจากระบบคุณธรรมจริยธรรมหรือกฎระเบียบต่างๆ ที่ปฏิบัติกันมา เพราะอาจทำให้พบกับกระบวนการต่อต้านหนักเข้าไปอีกจากทั้งใต้ดินและบนดิน และถึงเวลานั้นยากที่จะเกิดการปรองดอง
จริงอยู่ ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรมเป็นปัญหายาวนานเกิดขึ้นกับทุกรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ท้ายที่สุดขึ้นอยู่กับฝ่ายผู้มีอำนาจตั้งใจในการแก้หรือไม่ เช่นเดียวกับรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ มีข้อเสนอที่น่าสนใจจากสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม การซื้อขายเก้าอี้ด้วยการตัดตอนอำนาจการเมืองไม่ให้เข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง
มีการเสนอปรับแก้หลักเกณฑ์ หรือวิธีการในการคัดสรรผู้บริหารระดับกลางและสูง โดยเฉพาะระดับปลัดกระทรวงที่เดิมเป็นอำนาจของรัฐมนตรีประจำกระทรวงเท่านั้นเป็นผู้เสนอชื่อ แต่ข้อเสนอใหม่ คือ สร้างกระบวนการคัดสรรจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในกฎ ก.พ. เรื่องการโอนย้าย มาตรา 63 ของระเบียบข้าราชการพลเรือน ที่จะเปิดโอกาสให้มีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกขึ้นมา 1 ชุดต่อ 1 กระทรวง ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลจากภายนอก คัดเลือกว่าที่ปลัดกระทรวงที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามหลักเกณฑ์การคัดสรรด้วยการเปิดรับสมัครจากภายในและนอกกระทรวง โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวคัดให้เหลือ 3 รายชื่อ เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบแต่งตั้งเพียง 1 ชื่อ
สำหรับระดับอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด กลไกการสรรหาคล้ายคลึงกัน คือ จะมีกรรมการทั้งจากภายในและภายนอกเข้ามาร่วมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสรรหา กล่าวโดยสรุป คือ พยายามตัดตอนการใช้อำนาจแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการประจำ แนวคิดดังกล่าวนำเสนอรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตั้งแต่เข้ามาสู่อำนาจใหม่ๆ จนปัจจุบันยังอยู่เป็นแค่ข้อเสนอบนหน้ากระดาษ
อย่างไรก็ตาม การจัดทัพข้าราชการเพื่อทำงานสนองนโยบายรัฐบาลสามารถทำได้ตามกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน แต่สิ่งสำคัญ คือ การแต่งตั้งโยกย้ายปลัดกระทรวงหรืออธิบดี ฯลฯ ที่เป็นข้าราชการระดับสูงอยู่ในฐานะที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำ ในการพิจารณาแต่งตั้งต้องยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม คำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กร ประชาชน ประเทศชาติ เป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมืองเพียงอย่างเดียว มิเช่นนั้นการปรองดองจะไม่เกิด

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความมติชน

ประธาน วุฒิสภา มิติ แนวโน้ม สำคัญ ของ การเมืองไทย
ทั้งๆ ที่การเลือกตั้งประธานวุฒิสภาคนใหม่เพื่อแทน พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ซึ่งต้องหลุดจากตำแหน่งไปมีความสำคัญเป็นอย่างสูง

แต่การเคลื่อนไหวเพื่อชิงตำแหน่งนี้ค่อนข้างเงียบ

แม้จะมีรายชื่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะเต็ง 1 แต่ก็แทบไม่มีหลักประกันอันใดให้มั่นใจ

เหตุเพราะ นายนิคม ไวยรัชพานิช เป็น ส.ว.เลือกตั้ง

หากคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในหมวดว่าด้วยวุฒิสภาก็จะประจักษ์ว่าน้ำหนักโน้มไปทาง ส.ว.สรรหามากกว่า

ส.ว.เลือกตั้งดำเนินไปอย่างกระจัด กระจาย 76 จังหวัด

ขณะที่ ส.ว.สรรหาดำเนินไปอย่างเป็น กลุ่มก้อนจากคณะกรรมการสรรหาที่แบ่งสรรปันผลประโยชน์กันและกัน

จึงมีความเป็นเอกภาพมากกว่าที่มาจากการเลือกตั้ง

หากประเมินจากประธานวุฒิสภาคนที่ 1 นายประสพสุข บุญเดช ก็มาจากสายสรรหาประธานวุฒิสภาคนที่ 2 พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ก็มาจากสายสรรหา

สรรหามาแรง



กระนั้น หากดูจากสถานการณ์โดยรวมก็ไม่แน่ว่ากลุ่มการเมือง ซึ่งเคยร่วมกันสร้างสถานการณ์จนนำไปสู่รัฐประหารเดือนกันยายน 2549 จะยังเป็นเอกภาพ แน่นเหนียวอยู่หรือไม่

เห็นได้จากการแตกแถวออกมาของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

เห็นได้จากการขัดแย้ง แตกแยก ต่างคนต่างเดินระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ส่งผลสะเทือนไปยัง ส.ว.อย่างเลี่ยง ไม่พ้น

เห็นได้จากความสามารถของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการต่อสายไปยังข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกุมอย่างเบ็ดเสร็จในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

โดยเฉพาะสัมพันธ์อันดีวันดีคืนต่อ ผบ.เหล่าทัพ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และแม้กระทั่งกองทัพอากาศ

ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งไปยัง ส.ว. อย่างเลี่ยงไม่พ้น

ตามปกติการเคลื่อนไหวของ ส.ว.ที่อึกทึกครึกโครมอย่างยิ่งมักจะมาจากกลุ่ม 40 ส.ว.แต่ต่อสถานการณ์ปัจจุบันกลับเงียบอย่างผิดปกติ นี่ย่อมเป็นผลจากความขัดแย้ง แตกแยกระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรอย่างมีนัยสำคัญ

อ่านเกมยาก



หากประเมินจากการประลองกำลังระหว่างขบวนการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 กับ พรรคเพื่อไทย ผ่านเวทีศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมองเห็นเบาะแสบางอย่างทางการเมือง

สถานการณ์ไม่เหมือนกับเมื่อเดือนกันยายน และเดือนธันวาคม 2551

แม้ว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพันธ มิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องการให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกเชือดเหมือนกับที่ นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ถูกเชือดมาแล้วอย่างเลือดเย็น

แต่สถานการณ์ในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555 กลับไม่เป็นอย่างนั้น

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย พร้อมกับพันธมิตรอย่าง พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล เยือกเย็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ รอบคอบเพิ่มขึ้นในการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

เป็นผลให้พรรคประชาธิปัตย์ทำอะไรไม่ถูก เป็นผลให้เกิดภาวะชะงักงันภายในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เช่นเดียวกับ กรณีการประลองกำลังกันภายในสมาชิกวุฒิสภา

แม้มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูงว่าความเป็นกลุ่มก้อนของ ส.ว.สรรหายังดำรงอยู่ กระนั้นคำถามยังอยู่ที่ว่าพวกเขาจะเลือกใครให้ขึ้นมายืนอยู่หัวขบวน

คนของใคร



การเลือกตั้งประธานุวุฒิสภาในวันที่ 14 สิงหาคม จึงทรงผลสะเทือนเป็นอย่างสูงทางการเมือง

ตัวบุคคลที่จะมาแทน พล.อ.ธีรเดช มีเพียร จะเป็นหลักไมล์อันสะท้อนภาพทาง การเมืองว่ากำลังจะดำเนินไปในทิศทางใด ประนีประนอมหรือว่าเดินหน้าแตกหักเข่นฆ่ากันสถานเดี
ยว

บทความไทยโพสต์

แนะทางออก'กม.ปรองดอง'
รายงานพิเศษ
ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ที่รัฐบาลยังไม่ถอนออกจากสภา
ทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองรัฐบาลด้วยความหวาดระแวง กลัวจะลักไก่หยิบขึ้นมาพิจารณา
ประเด็นนี้จึงถูกจับตา จะเป็นชนวนทำให้สถานการณ์ทางการเมืองระอุขึ้นอีกหรือไม่

มีความเห็นจากนักกฎหมาย ฝ่ายสันติวิธี และ ส.ว.ถึงทางออกในเรื่องนี้
ดิเรก ถึงฝั่ง
ส.ว.นนทบุรี
ถ้ายังจำกันได้ นานเท่าไหร่แล้วตั้งแต่สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั่งเป็นรัฐบาล ก็มี ผู้เสนอให้สภาพิจารณารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนแล้วก็มี ผู้เสนอเลื่อนออกไปจนกระทั่งหมดวาระ และไม่ได้มีการพิจารณา
เมื่อมาถึงรัฐบาลชุดนี้จะชะลอร่างกฎหมายปรองดองไว้บ้าง ก็ไม่น่าใช่เรื่องเสียหาย ดีเสียอีกที่ไม่คิดพรวดพราดออกกฎหมาย เพราะอาจเกิดความวุ่นวายในสังคมได้ รัฐบาลจึงยอมชะลอเรื่องไว้ก่อนเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน
ถูกต้องแล้วที่ควรรอสถานการณ์คลี่คลายค่อยหยิบมาพิจารณายังทัน สังคมจะได้หันหน้าเข้าหากันเสียที ใช่ว่าการคาเรื่องไว้วันพรุ่งนี้จะเสนอขึ้นมาพิจารณาซะเมื่อไหร่
อย่าลืมว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้เสนอร่างดังกล่าว ไม่ใช่รัฐบาล ดังนั้น การจะถอนเรื่องได้ต้องอยู่ที่ผู้เสนอร่างคนเดียว และการถอนเรื่องออกไปก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา ประชาชนยิ่งเกิดความข้องใจทั้งที่เป็นสิทธิที่ประชาชนควรรับรู้ด้วย
นอกจากนี้ ผู้ที่เสนอแนวทางปรองดองก็เสนอด้วยความรู้สึกรับผิดชอบ ในฐานะชายชาติทหาร เหมือนเสือสำนึกบาป น่าจะชื่นชมและให้โอกาส แต่เรากลับไปมองเขาแง่ร้าย
อย่างว่าเป็นการชิงความได้เปรียบในแต่ละรัฐบาล พยายามทำให้ประชาชนมองเห็นว่าใครมีสปิริตมากพอ ทั้งที่เรื่องข้อดี-ข้อเสียของการถอน หรือคาไว้ในระเบียบวาระสภา ไม่ได้ต่างกันเลย
ข้อดีของการชะลอเรื่องไว้คือสามารถนำมาสู่การพิจารณาได้ ขณะที่ข้อเสียเป็นเรื่องกระบวนการพิจารณา ฝ่ายค้านกังวลว่าจะสามารถหยิบยกมาพิจารณาต่อได้มากกว่า และยังไปปลุกระดมคนมาก่อม็อบซึ่งไม่ควรทำ
เมื่อรัฐบาลเพิ่งประกาศชัดว่าจะชะลอเรื่องไว้จริง สิ่งที่ควรทำต่อจากนี้คือสานเสวนาได้แล้ว โดยที่รัฐบาลควรเป็นจุดเริ่มต้น เหมือนพนักงานในบริษัททะเลาะกัน เราเป็นผู้จัดการบริษัทก็ต้องเข้าไปไกล่เกลี่ย ไม่ใช่ปล่อยให้พนักงานเกิดความขัดแย้งกันเอง
ผมแนะนำแบบนี้ตั้งแต่รัฐบาลสมัยที่แล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีความเห็น ส่วนวิธีการก็ต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ปรับแก้รายละเอียดให้มีความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องดึงสถาบันพระปกเกล้าเข้ามาร่วมงานเพียงหน่วยงานเดียว เอาคนนอกมาร่วมด้วย ที่เก่งๆ และมีฝีมือก็เยอะ
แต่ต้องคัดบุคคลที่มีอุดมการณ์และเดินบนกรอบประชา ธิปไตย

โคทม อารียา
ผอ.สำนักสันติวิธี ม.มหิดล

การคาไว้หรือถอนร่างพ.ร.บ. ปรองดอง ไม่ใช่สาระสำคัญของการเดินหน้าสู่ความปรองดองของสังคมไทย เพราะรัฐบาล มีสิทธิ์คาไว้จนหมดวาระสมัยประชุม หรือหากถอนออกไปก็สามารถยื่นเข้ามาใหม่เมื่อไรก็ได้
ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรประชา ชนเพื่อประชาธิปไตย เตรียมชุมนุมหากสภาหยิบยก พ.ร.บ. ปรองดองมาพิจารณา ก็หวังว่าจะไม่เป็นชนวนนำไปสู่ความรุนแรงอีก พันธมิตรต้องใช้สิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นไปอย่างสันติวิธี ไม่ทำอะไรเกินเลยเหมือนก่อน
รายงานฉบับสุดท้ายของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ครบวาระการทำงานไปแล้วเมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา จะเป็น 'ตัวตั้งต้น'ของส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ผ่านมาได้
อย่างการเสียชีวิตของพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือการเผาตึกรามบ้านช่อง จะทราบได้หรือไม่ว่าเกิดจากการกระทำของใครและอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับข้อเท็จจริง ยอมรับผิดในสิ่งที่เกิดขึ้นและมีการออกมาขอโทษ ทำให้บรรยากาศในสังคมที่ร้อนระอุบรรเทาลงมาได
จากนั้นเข้ากระบวนการถกแถลงทั้งในภาคประชาชนและนักการเมือง เพื่อให้เกิดการคืนดี และให้สังคมเกิดความกระจ่างจากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาจย้อนเหตุการณ์กลับไปตอนรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 หรือตั้งแต่พันธมิตรเริ่มออกมาชุมนุมก็ได้ ให้ต่างฝ่ายต่างออกมาเล่าเหตุการณ์สำคัญว่าเกิดอะไรขึ้น ควรแก้ไขอย่างไร ซึ่งจะส่งผลดีทางด้านจิตใจในการสูญเสียได้
การนิรโทษกรรมควรเริ่มที่ผู้ชุมนุม ซึ่งจะช่วยให้อารมณ์ของสังคมเย็นลง อาจนำมาซึ่งการเห็นใจ ทหาร ตำรวจ แกนนำ รวมไปจนถึงนักการเมืองที่ควบคุมนโยบายสลายการชุมนุมด้วย

ส่วนการถกเถียงเรื่องความยุติธรรมของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือคตส. ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมาถกแถลงกันต่อว่าจะเอาอย่างไร เพราะถ้าไปแตะ คตส.สังคมก็จะมองว่าเป็นการช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

นันทวัฒน์ บรมานันท์
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

บ.ก.เว็บไซต์ www.pub-law.net

การจะพิจารณาหรือไม่พิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรอง ดอง สภาเป็นฝ่ายที่รู้ดีที่สุดว่าควรหยิบยกมาพิจารณาตอนไหน ถ้าเห็นว่าเรื่องปากท้องของประชาชนมีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่าก็ค้างไว้แล้วพิจารณาเรื่องอื่นก่อน

อย่างไรก็ตาม ผมไม่เชื่อว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองจะมีประโยชน์หากยังไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เพราะกฎหมายปรองดองใช้ได้กับบางคนเท่านั้น ถามว่าญาติของคนที่ถูกยิงที่หน้าวัดปทุมฯ เขาจะยอมรับหรือไม่ เขาก็ไม่ยอมรับและยังมีความโกรธแค้น หากเป็นเช่นนั้นร่างพ.ร.บ.ปรองดองจะมีประโยชน์อะไร

และผมยังไม่เชื่อว่าการปรองดองที่พยายามทำกันอยู่จะแก้ปัญหาอะไรได้ นอกจากจะทำได้ยากแล้วหากต้องการให้เกิดผลดีในทางปฏิบัติก็ยิ่งยากเข้าไปอีก

ปัญหาพื้นฐานที่เราต้องทำความเข้าใจก่อนจะคิดทำการปรองดองคือ พยายามทำความเข้าใจในพฤติ กรรมของมนุษย์ว่าเมื่อต้องเผชิญปัญหาต่างๆ ที่ร้ายแรง หรือต้องเจอข้อขัดแย้ง ส่วนใหญ่มักจะสู้รบกันก่อน เมื่อไม่ชนะแล้วจึงค่อยหันกลับมาเจรจาสงบศึก

การปรองดองจึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่มนุษย์ส่วนหนึ่งใช้เพื่อให้ได้ข้อยุติในความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ผมคงไม่สามารถฟันธงได้ว่าการให้สภาพิจารณากับไม่พิจารณาแบบไหนจะเป็นผลดี เพราะยังมีความขัดแย้งในสังคม ยังไม่ยอมรับกันและกัน
ผมยังยืนยันว่ารัฐสภาควรรอข้อสรุปของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน เพื่อให้เกิดการยอมรับ
เพราะเราจะเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นว่ากฎ หมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมาก กว่าคนบางกลุ่มหรือไม่
จากนั้นจึงมาดูว่าจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรอง ดองเลยหรือต้องถอนออกไป และ เชื่อว่าหากรอข้อสรุปของ คอป.จะช่วยลดความขัดแย้งจากฝ่ายที่เห็นต่างได้
เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเป็นนายกฯ เป็นคนที่แต่งตั้งนายคณิต เป็นประธานคอป.เอง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเข้ามาเป็นนายกฯ ก็ให้ คอป.ทำหน้าที่ต่อ เท่ากับทั้ง 2 ฝ่าย ต้องยอมรับสิ่งที่ คอป.สรุปออกมา
นายอภิสิทธิ์ ต้องฟัง ต้องไว้ใจ แม้จะค้านการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรองดองก็ตาม ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ต้องยอมรับหากผลสรุปออกมาว่าไม่เหมาะสมที่จะพิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรองดอง เพราะเป็นคนที่ยืนยันให้ คอป.ทำงานต่อ
เมื่อฝ่ายการเมืองรับได้ปัญหานอกสภาน่าจะ เบาบาง ที่สำคัญคนในสภาต้องออกมาแถลงให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นคนที่เลือกนายคณิตมาเอง
ความขัดแย้งเรื่องการพิจารณาหรือไม่พิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ผมเห็นว่าเป็นความไม่รอบ คอบของรัฐบาลที่รีบร้อน เพราะคำตอบที่ดีที่สุดแก่ประชาชนและควรต้องทำมากที่สุดคือรอ คอป.

หากข้อสรุปของ คอป.สอดคล้องกับพ.ร.บ.ปรอง ดองก็หยิบยกมาพิจารณา แต่หากไม่สอดคล้องก็ถอนออกไป
ตอนนี้ก็ประกาศให้ชัดว่าจะไม่ทำอะไรเพื่อลดความระแวง