วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์..ธีรยุทธ

บทวิเคราะห์การเมืองไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง
โดย "ธีรยุทธ บุญมี"


                    นายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์การเมืองไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง  ....   หัวข้อ  ยุคของการเมืองปัจจุบันยุคของทักษิณ-การเมืองรากหญ้า ประชานิยม         
                    1. การเมืองยุคของทักษิณ ช่วงเกือบ 15 ปีที่พรรคการเมืองของทักษิณชนะการเลือกตั้งทั่วไป ได้เสียงข้างมากติดต่อกัน รวมทั้งสามารถขยายฐานรากหญ้า เสื้อแดง ระดมพลไปเลือกตั้งและชุมนุมประท้วงได้อย่างกว้างขวาง สะท้อนว่าทักษิณกลายเป็น 1 ใน 3 ของผู้มีบารมีทางการเมืองในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 ที่มีบทบาทเปลี่ยนโฉมการเมืองไทย ซึ่งได้แก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ทักษิณจะช่วยให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือประเทศล่มจมยังเป็นสิ่งต้องพิสูจน์อีกยาวนาน         
            2. เกิดการเมืองรากหญ้า-ประชานิยม วิกฤติการเมืองไทยรุนแรง เพราะการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ที่รุนแรงที่สุดคือการไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของอีกฝ่าย เพราะมองว่าไม่ใช่ของจริง ไม่ต้องสนใจจริงจัง เช่น ฝ่ายอนุรักษ์มองว่า เสื้อแดงไม่มีตัวตนเพราะถูกจ้างมา โง่จึงถูกหลอกมา ไร้การศึกษาจึงถูกชักจูงโดยทักษิณ แต่ชาวรากหญ้าเสื้อแดงกลับมองว่า ทักษิณมีบุญคุณล้นเหลือคือ (ก) นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ช่วยผ่อนเบารายจ่ายของคนจนอย่างมาก         
           นอกจากแก้การเจ็บไข้ร่างกายแล้ว ยังแก้เจ็บใจที่แต่ก่อนไปสถานพยาบาลแล้วถูกดูถูกปฏิเสธ (ข) ชาวบ้านมองกองทุนและโครงการช่วยคนจนต่างๆ ว่าเป็นก้าวแรกที่มีการช่วยเหลือทางวัตถุโดยตรงและจริงจังแก่ชาวบ้าน (ค) ชาวบ้านชอบความรวดเร็วและเด็ดขาดเอาจริงเอาจังของทักษิณ โดยเฉพาะในการปราบปรามยาเสพติด (ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า ปัญหายาเสพติดกระทบโดยตรงต่อครอบครัวคนชั้นกลางล่าง ชั้นล่าง หรือคนจนในเขตเมืองมากกว่าที่คิด และลดลงมากในช่วงทักษิณ) ส่วนเสื้อแดงก็ไม่ยอมรับเสื้อเหลือง มองเป็นพวกไม่มีเหตุผล ความคิด เพราะคลั่ง ชาติคลั่ง เจ้า
         
            3. การเมืองรากหญ้ามีความสำคัญต่อประชาธิปไตย ถ้าจะมองพัฒนาการการเมืองไทยในด้านสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว ในช่วงราชาธิปไตยชาวบ้านไม่มีทั้งเสรีภาพและศักดิ์ศรี ต่อมาในช่วงเผด็จการทหารมีบางส่วนได้มีศักดิ์ศรีแต่ไม่มีเสรีภาพ ชนชั้นกลางในสังคมไทยเพิ่งจะมีเสรีภาพก็ในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 และชาวบ้านระดับรากหญ้าเองก็มามีเสรีภาพในการแสดงออกหลัง 19 กันยายน 2549 การเมืองรากหญ้าจึงเป็นดัชนีบ่งชี้พัฒนาการของสิทธิเสรีภาพในสังคมไทย แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประชานิยมน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในอนาคต อย่างไรก็ตาม พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นคราวๆ ยังไม่เป็นขบวนการการเมือง ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด         
                 รากเหง้าของวิกฤติ         
                 1. เรารวมศูนย์มากเกินไป ท้ายที่สุดศูนย์กลางเอาไม่อยู่  ก่อนรัตนโกสินทร์ไทยไม่ได้ปกครองแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จ  มีความหลากหลายของรูปแบบการปกครอง ขนบ วัฒนธรรม  เพิ่งมีการรวมศูนย์เบ็ดเสร็จทุกด้านในสมัยรัชกาลที่ 5  โดยรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง  กดเหยียดของเดิม จึงเกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม  ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลาย ๆ ด้านฝังลึกอยู่  เนื่องจากทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร  ชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น         
                   ส่วนชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ จึงตำหนิชาวบ้านเต็มที่ไม่ได้  เมื่อประเทศต้องการให้มาลงคะแนนเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตย  พวกเขาจึงถือเป็นอำนาจต่อรองในการซื้อ-ขายเสียง ขอโครงการเข้าหมู่บ้าน  ชาวบ้านตื้นตันใจกับทักษิณที่ใช้ประชานิยมผันเอาเงินของรัฐไปช่วยชาว บ้านอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง  แม้ตัวเองจะไม่ยอมจ่ายแม้แต่สตางค์แดงเดียวก็ตาม         
                    ตัวอย่างความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการรวมศูนย์มากเกินไป ซึ่งต้องร่วมกันแก้ไข คือ         
                   (ก) ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ คุณภาพชีวิต  อำนาจในการใช้และควบคุมทรัพยากรพื้นฐาน ตั้งแต่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แร่ธาตุ  ป่าไม้ การสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพอนามัย ฯลฯ  มีอยู่มากและได้พูดกันมากแล้ว         
                   (ข)  ประวัติศาสตร์เป็นความภาคภูมิใจของคน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6  เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน เราเน้นประวัติศาสตร์แบบกษัตริย์นิยมเป็นรัชกาลๆ ไป  เกือบไม่มีเรื่องราวของคน อาชีพ สถานะอื่น ไม่มีประวัติศาสตร์สังคมโดยรวม         
                   ไม่มีการเขียนประวัติศาสตร์ว่าคนอาชีพต่างๆ มีส่วนสร้างสังคมอย่างไร  ราวกับว่าไม่มีพวกเขาอยู่  ความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของประเทศจึงเกิดน้อย  สถานที่สาธารณะของเรามีรูปปั้น มีชื่อถนน สะพาน อาคาร สวนสาธารณะ ฯลฯ  ตามพระนามพระมหากษัตริย์ เกือบไม่มีชื่อของปราชญ์ชาวไทย พระ ทูต  นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร สถาปนิก นายแพทย์ นักสำรวจ  นักเศรษฐศาสตร์ นักแต่งเพลง กวี ศิลปิน ดารา นักกีฬา เช่น ป๋วย อึ๊งภากรณ์  ปรีดี พนมยงค์ พระยาอนุมานราชธน พุทธทาสภิกขุ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ กุหลาบ  สายประดิษฐ์ สุนทราภรณ์ มิตร ชัยบัญชา สุรพล สมบัติเจริญ ปรีดา จุลละมณฑล  รวมทั้งบุคคลสำคัญของท้องถิ่นต่างๆ  ในต่างประเทศเช่นราชสำนักอังกฤษให้อิสริยาภรณ์กับหลากหลายอาชีพ  แม้แต่ชาวต่างประเทศ เปเล่ เอลตัน จอห์น บิล เกทส์ เดวิด เบคแฮม ฯลฯ  ในขณะที่เรามีให้กับข้าราชการทหาร พลเรือน และภริยา  กับนักธุรกิจเป็นส่วนใหญ่         
                   (ค) ภาษา ขนบประเพณี  วัฒนธรรม ของท้องถิ่นถูกทอดทิ้งละเลยไปมาก เช่น  มีการรื้อถอนคุ้มจวนเจ้าเมือง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่สวยงาม  แล้วสร้างศาลากลางที่อัปลักษณ์แบบไทยภาคกลางลงไปแทน  วัดวาจำนวนมากก็ถูกเปลี่ยนเป็นแบบวัดภาคกลางแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์  มีการใช้ภาษาบาลี ไปเป็นชื่อถนน อำเภอ ตำบล แทนชื่อท้องถิ่น ฯลฯ  ยิ่งสร้างความแปลกแยก แทนที่จะสร้างความเข้าใจ เคารพซึ่งกันและกัน         
                   ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมมาตลอดชีวิต ถูกดูหมิ่นดูแคลน  ไม่มีศักดิ์ศรีของตัวเองให้เกิดความเคารพความรับผิดชอบตัวเอง  เมื่อชนชั้นกลางในเมืองต่อต้านคนที่มีบุญคุณเช่นทักษิณ จนเกิดรัฐประหาร 19  กันยายน ขึ้น พวกเขาจึงรู้สึกว่ายิ่งถูกซ้ำเติม ไม่ได้รับความเป็นธรรม  ศูนย์กลางใช้ 2 มาตรฐานต่อพวกเขา  จึงเกิดการไม่ยอมรับอำนาจของศูนย์กลางขยายตัวกว้างขวางขึ้น         
                   2. ความต่างในค่านิยม ความคิดพื้นฐานระหว่างรากหญ้ากับชนชั้นนำ ตอกย้ำความไม่เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น     ชาวบ้านอยู่กับความยากจนมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย  จึงชอบวัตถุจับต้องได้อย่างเห็นชัดๆ ชอบความไวทันใจแบบปาฏิหาริย์  ชาวบ้านจึงชอบตะกรุด หลวงพ่อคูณ (กูให้มึงรวย) แทงหวย ชอบทองคำ  ซึ่งบ่งบอกถึงความรวยชัดๆ (มวยไทยเก่งๆ ได้แจกสร้อยทองคำ)  ชาวบ้านยังมีค่านิยมแบบนักเลง มีน้ำใจให้กัน พึ่งพากันได้  ชอบฮีโร่หรือวีรบุรุษที่สร้างความหวัง (ส่วนใหญ่ไม่สมหวัง) ให้กับตน  ชอบผู้นำที่ฉับไว กล้าได้กล้าเสีย ไม่ต้องยกแม่น้ำทั้งห้า  ส่วนคนชั้นสูงชอบระเบียบ ความสงบ เรียบร้อย  เพราะเท่ากับว่าคนที่ต่ำกว่ายอมรับโครงสร้างอำนาจเดิม  และมองว่าระเบียบเป็นสิ่งเดียวกับประสิทธิภาพ         
                 แต่เมื่อใช้กับระบบราชการที่มีอยู่มานานจึงเชื่องช้า  (นี่เป็นค่านิยมหลักของประชาธิปัตย์ที่ถูกวิจารณ์หนักมาตลอด)  ชนชั้นสูงชั้นกลางเน้นการพึ่งตนเองและระบบ  เน้นวัตถุเหมือนชาวบ้านเช่นกันแต่พยายามมีคำอธิบาย พวกเขาเน้นนามธรรม  และชอบเทศนาคุณธรรม ความดี  จึงเป็นที่มาของความต่างระหว่างประชาธิปไตยกินได้ของชาวบ้านกับประชาธิปไตย ดูได้ของชนชั้นสูง         
                  ความแตกต่างในค่านิยมระหว่างชนชั้นล่าง และชนชั้นสูง/กลาง        
                 ชั้นล่าง ค่านิยมชีวิตทั่วไป ชอบความง่าย สนุกสนาน รู้สึกชีวิตไม่เป็นธรรม  ชอบวัตถุจับต้องได้ เน้นการพึ่งพา ช่วยเหลือกัน ใจกว้างใจนักเลง         
                    ชั้นสูง/กลาง ชอบระเบียบ กระบวนการ ความสงบเรียบร้อย มารยาท  ชีวิตเป็นโอกาส ช่องทางเปิดกว้าง ชอบนามธรรม เน้นคุณธรรม ความดี  (แต่ก็ชอบวัตถุ) เน้นการพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง         
                 ค่านิยมทางการเมือง         
                  ชั้นล่างชอบ ผู้นำวีรบุรุษ นโยบายประชานิยม ประชาธิปไตยกินได้         
                  สำหรับนักการเมือง ประชาธิปไตย (กู) ได้กิน         
                  ชั้นสูง/กลาง ไม่ชอบทักษิณที่ไม่เคารพกติกา ไม่ชอบประชานิยม เพราะทำให้คนไม่รับผิดชอบตนเอง ชอบ         
                   ประชาธิปไตยคนดี (เพราะพวกเราเป็นคนดี) หรือประชาธิปไตยดูได้ เผด็จการคนดีก็รับได้         
                    มุมมองใหม่ของปรากฏการณ์ของ การเมืองรากหญ้า ขบถคนเล็กคนน้อย         
                     1. จะเข้าใจปรากฏการณ์เสื้อแดงได้ดีขึ้น  ถ้ามามองทฤษฎีวงจรอุบาทว์หรือทฤษฎีสองนคราฯ ให้ลึกลงในระดับโครงสร้าง  เราเคยอธิบายว่าการเมืองไทยเป็นสองนคราธิปไตย คือคนชนบทตั้งรัฐบาล  คนเมืองล้มรัฐบาล หรือคนชนบทซื้อ-ชายเสียงเลือกตั้ง นักการเมืองถอนทุน  ชนชั้นกลางไม่พอใจ ทหารรัฐประหารเลือกตั้งใหม่         
                     แต่นี่เป็นการมองเชิงปรากฏการณ์  ถ้ามองเชิงโครงสร้างเราจะมองเห็นวงจรของการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจการ เมืองซ้อนทับอยู่ คือ ชนบทเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร  แรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ  และเป็นแหล่งที่มาที่ชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย (ซึ่งก็คือการเลือกตั้ง)  ส่วนเมืองเป็นแหล่งผลิตใช้ทรัพยากร และเป็นผู้ใช้อำนาจประชาธิปไตย  และเพื่อให้วงจรนี้ดำรงต่อไปได้ก็มีการครอบงำชาวบ้าน  โดยวาทกรรมความสำคัญของศูนย์กลาง ของประชาธิปไตยคนดี  และมาตรการสุดท้ายคือรัฐประหาร         
                    ประเทศตะวันตกไม่เกิดวงจรอุบาทว์นี้  เพราะเขาทำให้ประชาชนทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศ มีส่วนร่วมรับผิดชอบ  กล้าใช้สิทธิเสรีภาพของตน ประชาธิปไตยในต่างประเทศไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ  ต้องมีการลงทุนด้านสังคม การศึกษา ค่านิยม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม  รับผิดชอบ กลุ่มธุรกิจ ธนาคาร อุตสาหกรรม  และภาคสังคมเป็นตัวหลักในการสร้างมหาวิทยาลัย โรงเรียน พิพิธภัณฑ์  สวนสาธารณะ ที่ประชุม ชุมชน หอศิลป์ ที่ฟังดนตรี สร้างสังคมที่ดี สวยงาม  น่าอยู่ น่ารับผิดชอบร่วมกัน ฯลฯ         
                     ชนชั้นนำไทยละเลยภารกิจนี้โดยสิ้นเชิง  กลับโยนความไม่เป็นประชาธิปไตยไปที่ชาวบ้าน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6  ชนชั้นสูงของไทยสร้างค่านิยม อุดมการณ์แบบนิยมกษัตริย์  ทหารเน้นอุดมการณ์ความมั่นคง ส่วนกลุ่มทุน ธุรกิจต่างๆ  ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบหรือร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย  หรือสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยขึ้นเลย ชนบทจึงเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร  แรงงานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นผู้ลงคะแนนเสียง  หรือแหล่งที่มาของความชอบธรรม (legitimacy)  ของประชาธิปไตยที่ดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยที่ตัวเองเกือบไม่ได้อะไร         
                       อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็รู้ดีว่าอำนาจต่อรองทำให้เกิดผลประโยชน์ได้  เมื่อคนเมืองต้องการให้พวกเขาลงคะแนนเลือกตั้ง  การซื้อ-ขายเสียงอย่างเป็นระบบ การของบโครงการเข้าหมู่บ้านจึงเริ่มขึ้น  ตั้งแต่ปี 2521 และขยายตัวเรื่อยมา  สังคมทั่วไปประณามว่าเป็นเหมือนมะเร็งร้ายของประชาธิปไตย  แต่ถ้าจะมองว่าเป็นการแบ่งปัน ขอคืน ของชาวชนบทก็ได้เช่นกัน         
                       การเกิดขึ้นของการเมืองรากหญ้าจึงเสมือนเป็นกระบวนการย้อนกลับที่จะดึงเอา อำนาจ ความมั่งคั่ง ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ กลับคืนสู่ชนบท  จะเป็นสิ่งที่ดีมากและเกิดผลยั่งยืนแก่ประชาธิปไตยถ้ากระบวนการนี้ยั่งยืน  แล้วสร้างความเป็นธรรมในที่สุด เพราะความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำต่างๆ  เป็นรากเหง้าลึกที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาเหลือง-แดง  การเมืองรากหญ้า-ประชานิยม 
                       2 . เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจ เมืองไทยยุค 2 ก๊ก ก๊ก คนเลว โจโฉ จะชนะก๊ก  คนดี เล่าปี่-ขงเบ้ง ขณะที่การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ  ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยมกับศูนย์อำนาจรากหญ้า  ซึ่งเป็นภาวะที่ทั้งน่าสนใจและน่าเป็นห่วงมากที่สุดเมื่อเทียบกับการเปลี่ยน แปลงการเมืองทั้งหมดที่ผ่านมา ภาวะ 2 ศูนย์อำนาจจะแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน  แต่ละส่วนมีฐานที่มั่น ที่มาความชอบธรรม (legitimacy)  ควบคุมอำนาจที่ต่างกันชัดเจน         
                       (ก)จากนโยบายประชานิยม  ซึ่งจะหลากหลายขึ้น ทั้งประชานิยม เศรษฐกิจ อาชีพ สังคม (กองทุนสตรี  การแจกคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้เด็กนักเรียน[3]) ประชานิยมด้านอัตลักษณ์  วัฒนธรรม ประเพณี         
                      (ข) จากคนเล็กคนน้อย  จากหลากหลายอาชีพ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม  ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเหยียด เช่น ตำรวจ อัยการ  พ่อค้า แม่ค้า (ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจนหรือยศชั้นต่ำ)         
                      จะเห็นได้ว่าฝ่ายเสื้อแดง-รากหญ้าอยู่ในสถานะได้เปรียบ  ฝ่ายอนุรักษ์เสียเปรียบ เพราะ (ก)  แนวทางและวาทกรรมในการต่อสู้ของเสื้อแดงจูงใจคนเล็กคนน้อย  (แต่เป็นคนส่วนใหญ่ได้)  ส่วนของความคิดอนุรักษ์จำกัดอยู่ในเรื่องชาติและพระมหากษัตริย์ (ข)  เสื้อแดงมีความชอบธรรมในเรื่องประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง  ซึ่งเป็นความชอบธรรมสากลของโลกปัจจุบัน         
                      ส่วนความชอบธรรมของฝ่ายอนุรักษ์เป็นเชิงประวัติศาสตร์ประเพณีซึ่งเก่าแก่และ สึกกร่อนได้ (ค) วิสัยทัศน์ของพลังอนุรักษ์ตีบตันจึงเป็นฝ่ายตั้งรับ  ในขณะที่ฝ่ายรากหญ้าเส้นทางเปิดกว้างเพราะสามารถคิดสิ่งใหม่ๆ  มาให้กับชาวบ้านได้ โดยมีงบประมาณ ทรัพยากรรองรับ         
                      ภาวะ 2 ศูนย์กลางไม่เป็นผลดีในที่สุดต้องเหลือเพียงศูนย์เดียว ในระยะยาวโอกาสของพลังฝ่ายรากหญ้ามีมากกว่า         
                       บทสรุป         
                   ไม่มีทางออกในระยะใกล้ มีแต่สิ่งที่ต้องทำเพื่อทางออกระยะยาว         
                  1. ไม่มีทางออกจากการรอมชอมในระยะสั้น เพราะปัญหาฝังลึกมานาน ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าตัวเองถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีปากเสียงมานาน อีกฝ่ายศรัทธาในสถาบันที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมานาน ต่างเชื่อว่าอีกฝ่ายจะล้มล้างหรือซ้ำเติมฝ่ายตน        
                    2. การขยายตัวของขั้วทักษิณ-รากหญ้า มีโอกาสทำให้เกิดการแตกร้าวระดับโครงสร้างและสถาบันมากขึ้น ดังที่กล่าวว่า วงจรการเมืองเป็นเสมือนการย้อนเอาอำนาจ รายได้ ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ ความยุติธรรมกลับคืน เส้นแบ่งระหว่าง 2 ศูนย์อำนาจนอกจากจะเป็นความเสียเปรียบ/ได้เปรียบ คนต่ำต้อย/คนชั้นสูง มีแนวโน้มขยายเป็นเรื่องอัตลักษณ์ (คนอีสาน เหนือ ใต้ กรุงเทพฯ) วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับการเมืองประชาธิปไตยในแง่ที่จะเกิดความหลากหลายทางอัตลักษณ์ วัฒนธรรม การตระหนักในอำนาจ ศักดิ์ศรีของตนเองกับคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต แต่ถ้าเป็นวงจรการเมืองแบบเอาคืนหรือทีใครทีมันอย่างสุดขั้ว ก็จะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อได้ และจะเป็นเรื่องเสียหายเกิดความเสียหายร้ายแรงที่สุดถ้าเส้นแบ่งขั้วขัดแย้งขยายเข้าไปสู่สถาบันกองทัพ ศาล เป็นต้น         
                     อย่างไรก็ตาม บ้านเมืองจะผ่านความรุนแรงไปได้อย่างน้อยช่วงหนึ่งถ้าทักษิณและเพื่อไทยมองเห็นว่า เวลาอยู่กับฝ่ายตน ไม่จำเป็นต้องกดดันให้มีการเผชิญหน้าของมวลชน และใช้เวลาดังกล่าวแก้ไขความไม่ถูกต้อง ซึ่งมีมาช้านานให้ดีขึ้น แต่ก็ควรมุ่งเชิงโครงสร้างและค่านิยมที่ควรมากกว่า
         
                       3. ต้องมีการปรับกระบวนทัศน์หรือแม่บทความคิดใหม่ว่า ประเทศไทยควรเป็นอย่างไร ทั้งในด้านการเมืองการปกครอง การปฏิรูปปรับปรุงสถาบัน องค์กร สำคัญๆ ต่างๆ ทั้งหมด อาทิ   รูปแบบการปกครองประเทศควรเป็นอย่างไร ควรจะกระจายอำนาจการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจ การศึกษาในระดับภูมิภาค การพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร         
                         เป็นที่ประจักษ์ชัดจากความขัดแย้งปัจจุบันว่า ได้ลุกลามไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ นักวิชาการรวมทั้งนักคิดที่ใกล้ชิดราชสำนัก เช่น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล         
                         นพ.ประเวศ วะสี นายอานันท์ ปันยารชุน ควรสร้างการศึกษาค้นคว้า สร้างความรู้ที่ถูกต้องว่า สถาบันกษัตริย์ควรจะดำรงอยู่ในระบบเสรีประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์อย่างไร โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการอนุรักษ์สุดขั้วบางส่วน ที่พยายามจะหวนกลับมายกย่องให้พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีพระราชอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการย้อนยุค สถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและโลกยุคข่าวสารได้ยั่งยืน ก็ต้องเป็นสถาบันที่มีสถานะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างแท้จริง         
                         นอกจากจะมีหน้าที่ ภารกิจตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแล้ว ยังมีภารกิจตามขนบประเพณี ทางศาสนา วัฒนธรรม และที่สังคมคาดหวัง เช่น เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแหล่งที่มาของเกียรติยศ จริยธรรม คุณธรรม พิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น         
                        นักเศรษฐศาสตร์สำคัญทั่วโลกล้วนสรุปว่า นโยบายประชานิยมแม้จะมีส่วนดีในหลายด้านแต่ก็ล้มเหลวในที่สุดในทุกประเทศที่เคยใช้มา เพราะเกิดปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อรุนแรง สังคมต้องช่วยกันกดดัน วิพากษ์ วิจารณ์ทักษิณและพรรคเพื่อไทยทีจะพัฒนาเปลี่ยนรูปนโยบายนี้ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง         
                     ผู้ที่ควรร่วมคิด ผลักดันประเด็นข้างต้นควรเป็น นักวิชาการเสื้อเหลือง แดง และนักวิชาการทั่วไปที่ไม่ยึดแนวสุดขั้วจนปฏิเสธอีกฝ่ายหนึ่ง ภาคธุรกิจ กลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งอยู่ตรงกลางมากที่สุด แต่ก็มีผลได้ผลเสียจากความขัดแย้งปัจจุบันมากที่สุด ควรมีบทบาทชดเชยสิ่งที่ควรทำแล้วไม่ได้ทำ ด้วยการลงทุนสร้างความยุติธรรม บรรยากาศ ค่านิยมประชาธิปไตยให้กว้างขวางที่สุด         
                      4.การเกิดขั้วทางอำนาจนี้ คงดำเนินต่อไปอีกยาวนาน มีโอกาสเกิดการชุมนุมประท้วงรุนแรงขึ้นได้อีก จำเป็นที่เราต้องยกระดับให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยเข้มแข็ง (strong democracy) ที่ใช้ทั้งสิทธิและเสรีภาพและตามลักษณะที่เข้มแข็งทั้ง 3 ด้าน (strong right, strong freedom, strong responsibility) คือเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็รักษาสิทธิของตน รับผิดชอบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเต็มที่

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ครบรอบ 6 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 บทเรียนและที่มาที่ไปของรัฐ ประหารดังกล่าวคืออะไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

รัฐประหารแก้ปัญหาการเมืองได้หรือไม่ หรือกลับยิ่งสร้างแนวโน้มของโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารขึ้นอีก เป็นคำถามที่ท้าทายการถกเถียง

ลองฟังจากนักวิชาการที่ติดตามปัญหาการเมืองไทยมาตลอด

รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐประหารในปี 2549 แตกต่างจากครั้งอื่น

เพราะได้เปิดตัวผู้เล่นทางการเมืองที่เคยอยู่เบื้องหลังมาปรากฏให้สังคมรับรู้ชัดเจนขึ้น

ทำให้เกิดคำถามที่ต่างไปจากเดิม ความเปลี่ยนแปลงตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีน้ำหนัก

กลายเป็นว่าการรัฐประหารถูกทำให้เป็นคนละขั้วกับการเลือกตั้ง และแนวโน้มความต้องการเรียกร้องของประชาชนให้เคารพสิทธิการเลือกตั้ง โดยไม่เอาการรัฐประหารมาล้มล้างเจตนารมณ์ที่เกิดจากการเลือกตั้งจะรุนแรงและชัดเจนขึ้น

"สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงคือ การเมืองถูกกำหนดโดยการต่อรองของกลุ่มคนชั้นนำอยู่เช่นเดิม ประชาชนเห็นภาพเหล่านั้นชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดการเรียกร้องเข้าไปมีส่วนในพื้นที่ต่อรองด้วย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ในการแข่งขันทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา" รศ.สิริพรรณกล่าว

นักวิชาการรัฐศาสตร์จากจุฬาฯยังกล่าวว่า อยากเห็นการเปิดพื้นที่การต่อรองและการแสดงความเห็นอย่างจริงจัง

ไม่ใช่แค่การจัดเสวนา ประชุม คณะกรรมการอิสระเข้ามาแสดงความคิดเห็นและรับฟังเท่านั้น ภาครัฐควรเข้ามามีบท บาทด้วย เช่น การทำประชามติ ประชาพิจารณ์ ที่มีผลบังคับใช้จริง ครอบคลุมตามกระบวนการมาตรฐานสากล



เพื่อช่วยระบายความคับข้องใจของประชาชน ไม่ใช่แค่การชุมนุมที่ท้องถนน การประท้วงที่ไม่ได้ทำให้เกิดการแก้ไขในระยะยาว และอาจกลายเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ทุกฝ่ายควรเคารพกติกาประชาธิปไตย ไม่ใช้ความรุนแรง ให้การเมืองและสังคมเดินหน้าต่อไปได้

อาจจะช้า เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองไทยยังถูกชนชั้นนำผูกขาด แต่การเติบโตของคนชั้นกลางจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองเหล่านี้ผ่านระบบเศรษฐกิจ และต้องการพื้นที่ต่อรองผลประโยชน์มากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับรัฐประหาร

อีกมุมหนึ่ง จาก ปกรณ์ ปรียากร อดีต คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้ทรรศนะว่าในโลกประชาธิปไตย ไม่มีใครต้องการรัฐประหารอีก

แต่เหตุผลที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อ้างในการรัฐประหาร สะท้อนให้เห็นประเด็นที่สังคมต้องระมัดระวังและแก้ไขให้ได้ 3 เรื่องด้วยกัน

1.การเป็นประชาธิปไตย ต้องรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง 2.พฤติกรรมของนักการเมืองที่คดโกงแผ่นดิน ควรได้รับการตระหนักอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่วิธีรัฐประหาร เพราะรัฐบาลไม่อาจแก้ไขพฤติกรรมอย่างนั้นได้ มิหนำซ้ำคณะบุคคลที่ทำการรัฐประหาร อาจจะประ พฤติซ้ำรอยกับบุคคลที่ถูกกล่าวอ้าง

และ 3.ควรตระหนักถึงคตินิยมที่ว่า "โกงไม่เป็นไรขอให้ทำงานได้ก็แล้วกัน" เป็นการส่งเสริมให้คนโกงมีความเหิมเกริม ก่อให้เกิดความวิบัติของสังคมการเมือง

"นักการเมืองไม่ควรปฏิเสธการถูกตรวจสอบจากสังคม ต้องกล้าที่จะยอมรับผิด ไม่เช่นนั้นรัฐประหารจะกลับมาอีก" ปกรณ์กล่าว

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหารหรือมองว่าเป็นเรื่องปกติจะมีพื้นที่พูดน้อยลง

แต่ความรู้สึกว่ารัฐประหารไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ปัญหาทางการเมืองมีพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากการรัฐประหาร 2549 จบลงด้วยการล้มเหลวก็ว่าได้ ทุกอย่างที่ประกาศไว้ว่าเป็นเหตุผลของการรัฐประหารจนถึงตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้นเลย

"ความล้มเหลวของการรัฐประหาร 2549 คนเห็นตรงกัน แต่ถึงขั้นมองว่าการรัฐประหารเป็นเรื่องที่ผิดหรือเปล่ายังไม่แน่ คิดว่าการเกิดรัฐประหารอย่าง 2549 คงจะยากขึ้นแล้ว" ศิโรตม์กล่าว

ศิโรตม์ยังกล่าวอีกว่า ความคิดเห็นเรื่องประชาธิปไตยนั้นยังไม่ได้เติบโตขึ้นเท่าที่ควร อาจมีคนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ก็ไม่ได้ยึดว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่จะทำให้สังคมดีขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ พรรคเพื่อไทยคิดว่าการที่ประชาชนยอมรับในตอนนี้ เป็นผลมาจากการที่เขาไม่พอใจระบบการเมืองหลังปี 2549

"เพราะฉะนั้นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพยายามทำให้พรรคเป็นองค์กรที่ทำให้เกิดการปฏิรูปมากขึ้น ประชาชนก็ไม่ได้เลือกฝ่ายนี้โดยไม่มีเงื่อนไข แต่เลือกเพราะมีคาดความหวังที่อยากเห็นประชาธิปไตยอยู่ แต่พรรคเพื่อไทยดูจะไม่ได้สนใจเท่าไร" ศิโรตม์กล่าว

สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ของสังคมไทยก่อนและหลังเหตุการณ์รัฐประหารเป็นต้นมา เป็นช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่พยายามจะผูกขาดอำนาจ เป็นการต่อสู้ที่พยายามโค่นล้ม อีกฝ่าย เห็นได้จากสโลแกน ประเภท สงครามครั้งสุดท้าย และการใช้ความรุนแรงอย่างมาก พอถึงปัจจุบันสถานการณ์นี้ค่อยๆ เปลี่ยนไป

"สถาบันการเมืองเริ่มยอมรับว่าเป็นระบบที่มาจากการเลือกตั้งที่จะต้องมีอยู่ต่อไป รวมถึงการยอมรับในระบบคนเสื้อแดงที่จะต้องเกิดขึ้นมา

"เดิมคิดว่าถูกคนจ้างมา ตอนนี้เป็นกลุ่มพลังในสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้" อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชี้

สมชายกล่าวว่า การเดินหน้าต่อไปของสังคมนั้นถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น เสียงที่สุดขั้ว ถูกทำให้เบาลง ทุกฝ่ายเดินเข้าหากัน อยู่ในช่วงต่อรองและรับรู้เข้าใจว่าจะรับได้บางส่วน

เช่น สถาบันทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็รู้ว่าได้รับระบบการเลือกตั้งแน่นอน ขณะเดียวกัน ในเมื่อยังไม่สามารถสถาปนาอำนาจนำทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ก็ต้องยอมรับอำนาจบางอย่างที่มากำกับนักการเมืองอยู่ เช่นองค์กรอิสระ

"ผมมองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่จะค่อยๆ เกิดขึ้น อีกทั้งการรัฐประหาร ปี 2549 ก็เป็นบทเรียนให้คนที่อยู่ในแวดวงทหารได้เรียนรู้ว่ายิ่งทำรัฐประหาร สถานะของทหารจะอยู่ได้ยากยิ่งขึ้น กระทั่งรัฐบาลที่มาภายหลังรัฐประหารได้หายไปจากความทรงจำของประชาชน

"หากรัฐประหารอีกครั้งจะต้องถูกคัดค้านแน่นอน ไม่ใช่เพียงคนเสื้อแดงเท่านั้น" สมชายกล่าวทิ้งท้าย

นั่นคือทรรศนะที่มีต่อประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของประเทศ อันเป็นการ "ก้าวพลาด" ครั้งใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเก็บรับเป็นบทเรียน

เพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก

บทวิเคราะห์เดลินิวส์

ต้องให้สมราคาหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
วันอังคารที่ 25 กันยายน 2555
คงไม่จบลงโดยง่าย สำหรับคดี ที่ดินอัลไพน์ของ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ที่แม้หลายฝ่ายจะยืนยันว่า มีความผิด แต่ถูก พ.ร.บ.ล้างมลทิน ชำระสะสางเป็นไปที่เรียบร้อย

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ที่ผ่านมา หลังประชุมคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า

พรรคจะดำเนินการกับนายยงยุทธใน3 ช่องทาง คือ

1. ให้ ส.ส. เข้าชื่อ 1 ใน 10 หรือ 50 คน เพื่อร้องต่อประธานสภา ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยคุณสมบัติ

2. ยื่นคำร้องไปที่ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา และ

3. ยื่นคำร้องไปที่ กกต. เพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ

แม้หน่วยราชการทั้ง คณะกรรมการกฤษฎีกา และ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย จะมองว่า
เข้าข่าย เกี่ยวกับการล้างมลทิน แต่พรรคประชาธิปัตย์ มองว่า ไม่เข้าข่าย

โดยเฉพาะเหตุผลที่ว่า ในปี 2546
2548 นายยงยุทธ ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นกรรมการที่ปรึกษา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีต รมช.สาธารณสุข เป็นประธานคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้านครหลวง และเป็นประธานกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าด้วย ซึ่งหากในช่วงนั้นนายยงยุทธ ต้องโทษถูกไล่ออกก็จะขาดคุณสมบัติ จนไม่สามารถดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ หากนายยงยุทธก็ดำรงตำแหน่งเรื่อยมา

กรณีนี้ จึงต้องให้ผู้มีหน้าที่ อย่างศาลรัฐธรรมนูญ กกต. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน
ชี้ขาด

หาก
เข้าข่าย ได้ล้างมลทิน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับเก้าอี้รัฐมนตรีของนายยงยุทธ แต่หาก ไม่เข้าข่ายนอกจาก งานจะเข้าที่เจ้าตัวต้องรับไปเต็ม ๆ แล้ว ยังน่าจะ ลุกลามไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อีกด้วย

ในสภาพความจริงทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย เวลานี้ บอกได้เลยว่า มีหลายคนที่มีคุณสมบัตินั่งเก้าอี้แทน นายยงยุทธ ได้อย่างสบาย

เอาแค่ที่ปรากฏเป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น โภคิน พลกุล
, เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ หรือแม้กระทั่ง นายจตุพร พรหมพันธุ์

ต้องไม่ลืมว่า สำหรับพรรคเพื่อไทยแล้ว นายยงยุทธ มีความสำคัญยิ่ง เพราะทำหน้าที่เป็น หัวหน้าพรรค

นายยงยุทธ เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ต่อจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์

นายยงยุทธ สร้างผลงานเข้าตาเจ้าของพรรคตัวจริง ด้วยการจับสลากได้
เบอร์ 1 ในช่วงก่อนที่จะมีการรณรงค์เลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. 54 ที่ผ่านมา

อย่าคิดว่า หัวหน้าพรรคนั้นใครจะมาเป็นกันง่าย ๆ ในกรณีของพรรคเพื่อไทย หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคถูก
ออกแบบไว้สู้กับการ ยุบพรรค ซึ่งจะต้องถูกเว้นวรรคการเมือง 5 ปี ตามไปด้วย

สวมหัวโขนหัวหน้าพรรคอันดับ 1 ทั้งที่
ใจคอจะไม่ให้มีฤทธิ์มีเดชบ้างเลยเชียวหรือ.

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์มติชน

ครบรอบ 6 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 บทเรียนและที่มาที่ไปของรัฐ ประหารดังกล่าวคืออะไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

รัฐประหารแก้ปัญหาการเมืองได้หรือไม่ หรือกลับยิ่งสร้างแนวโน้มของโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารขึ้นอีก เป็นคำถามที่ท้าทายการถกเถียง

ลองฟังจากนักวิชาการที่ติดตามปัญหาการเมืองไทยมาตลอด

รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐประหารในปี 2549 แตกต่างจากครั้งอื่น

เพราะได้เปิดตัวผู้เล่นทางการเมืองที่เคยอยู่เบื้องหลังมาปรากฏให้สังคมรับรู้ชัดเจนขึ้น

ทำให้เกิดคำถามที่ต่างไปจากเดิม ความเปลี่ยนแปลงตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีน้ำหนัก

กลายเป็นว่าการรัฐประหารถูกทำให้เป็นคนละขั้วกับการเลือกตั้ง และแนวโน้มความต้องการเรียกร้องของประชาชนให้เคารพสิทธิการเลือกตั้ง โดยไม่เอาการรัฐประหารมาล้มล้างเจตนารมณ์ที่เกิดจากการเลือกตั้งจะรุนแรงและชัดเจนขึ้น

"สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงคือ การเมืองถูกกำหนดโดยการต่อรองของกลุ่มคนชั้นนำอยู่เช่นเดิม ประชาชนเห็นภาพเหล่านั้นชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดการเรียกร้องเข้าไปมีส่วนในพื้นที่ต่อรองด้วย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ในการแข่งขันทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา" รศ.สิริพรรณกล่าว

นักวิชาการรัฐศาสตร์จากจุฬาฯยังกล่าวว่า อยากเห็นการเปิดพื้นที่การต่อรองและการแสดงความเห็นอย่างจริงจัง

ไม่ใช่แค่การจัดเสวนา ประชุม คณะกรรมการอิสระเข้ามาแสดงความคิดเห็นและรับฟังเท่านั้น ภาครัฐควรเข้ามามีบท บาทด้วย เช่น การทำประชามติ ประชาพิจารณ์ ที่มีผลบังคับใช้จริง ครอบคลุมตามกระบวนการมาตรฐานสากล



เพื่อช่วยระบายความคับข้องใจของประชาชน ไม่ใช่แค่การชุมนุมที่ท้องถนน การประท้วงที่ไม่ได้ทำให้เกิดการแก้ไขในระยะยาว และอาจกลายเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ทุกฝ่ายควรเคารพกติกาประชาธิปไตย ไม่ใช้ความรุนแรง ให้การเมืองและสังคมเดินหน้าต่อไปได้

อาจจะช้า เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองไทยยังถูกชนชั้นนำผูกขาด แต่การเติบโตของคนชั้นกลางจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองเหล่านี้ผ่านระบบเศรษฐกิจ และต้องการพื้นที่ต่อรองผลประโยชน์มากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับรัฐประหาร

อีกมุมหนึ่ง จาก ปกรณ์ ปรียากร อดีต คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้ทรรศนะว่าในโลกประชาธิปไตย ไม่มีใครต้องการรัฐประหารอีก

แต่เหตุผลที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อ้างในการรัฐประหาร สะท้อนให้เห็นประเด็นที่สังคมต้องระมัดระวังและแก้ไขให้ได้ 3 เรื่องด้วยกัน

1.การเป็นประชาธิปไตย ต้องรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง 2.พฤติกรรมของนักการเมืองที่คดโกงแผ่นดิน ควรได้รับการตระหนักอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่วิธีรัฐประหาร เพราะรัฐบาลไม่อาจแก้ไขพฤติกรรมอย่างนั้นได้ มิหนำซ้ำคณะบุคคลที่ทำการรัฐประหาร อาจจะประ พฤติซ้ำรอยกับบุคคลที่ถูกกล่าวอ้าง

และ 3.ควรตระหนักถึงคตินิยมที่ว่า "โกงไม่เป็นไรขอให้ทำงานได้ก็แล้วกัน" เป็นการส่งเสริมให้คนโกงมีความเหิมเกริม ก่อให้เกิดความวิบัติของสังคมการเมือง

"นักการเมืองไม่ควรปฏิเสธการถูกตรวจสอบจากสังคม ต้องกล้าที่จะยอมรับผิด ไม่เช่นนั้นรัฐประหารจะกลับมาอีก" ปกรณ์กล่าว

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหารหรือมองว่าเป็นเรื่องปกติจะมีพื้นที่พูดน้อยลง

แต่ความรู้สึกว่ารัฐประหารไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ปัญหาทางการเมืองมีพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากการรัฐประหาร 2549 จบลงด้วยการล้มเหลวก็ว่าได้ ทุกอย่างที่ประกาศไว้ว่าเป็นเหตุผลของการรัฐประหารจนถึงตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้นเลย

"ความล้มเหลวของการรัฐประหาร 2549 คนเห็นตรงกัน แต่ถึงขั้นมองว่าการรัฐประหารเป็นเรื่องที่ผิดหรือเปล่ายังไม่แน่ คิดว่าการเกิดรัฐประหารอย่าง 2549 คงจะยากขึ้นแล้ว" ศิโรตม์กล่าว

ศิโรตม์ยังกล่าวอีกว่า ความคิดเห็นเรื่องประชาธิปไตยนั้นยังไม่ได้เติบโตขึ้นเท่าที่ควร อาจมีคนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ก็ไม่ได้ยึดว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่จะทำให้สังคมดีขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ พรรคเพื่อไทยคิดว่าการที่ประชาชนยอมรับในตอนนี้ เป็นผลมาจากการที่เขาไม่พอใจระบบการเมืองหลังปี 2549

"เพราะฉะนั้นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพยายามทำให้พรรคเป็นองค์กรที่ทำให้เกิดการปฏิรูปมากขึ้น ประชาชนก็ไม่ได้เลือกฝ่ายนี้โดยไม่มีเงื่อนไข แต่เลือกเพราะมีคาดความหวังที่อยากเห็นประชาธิปไตยอยู่ แต่พรรคเพื่อไทยดูจะไม่ได้สนใจเท่าไร" ศิโรตม์กล่าว

สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ของสังคมไทยก่อนและหลังเหตุการณ์รัฐประหารเป็นต้นมา เป็นช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่พยายามจะผูกขาดอำนาจ เป็นการต่อสู้ที่พยายามโค่นล้ม อีกฝ่าย เห็นได้จากสโลแกน ประเภท สงครามครั้งสุดท้าย และการใช้ความรุนแรงอย่างมาก พอถึงปัจจุบันสถานการณ์นี้ค่อยๆ เปลี่ยนไป

"สถาบันการเมืองเริ่มยอมรับว่าเป็นระบบที่มาจากการเลือกตั้งที่จะต้องมีอยู่ต่อไป รวมถึงการยอมรับในระบบคนเสื้อแดงที่จะต้องเกิดขึ้นมา

"เดิมคิดว่าถูกคนจ้างมา ตอนนี้เป็นกลุ่มพลังในสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้" อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชี้

สมชายกล่าวว่า การเดินหน้าต่อไปของสังคมนั้นถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น เสียงที่สุดขั้ว ถูกทำให้เบาลง ทุกฝ่ายเดินเข้าหากัน อยู่ในช่วงต่อรองและรับรู้เข้าใจว่าจะรับได้บางส่วน

เช่น สถาบันทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็รู้ว่าได้รับระบบการเลือกตั้งแน่นอน ขณะเดียวกัน ในเมื่อยังไม่สามารถสถาปนาอำนาจนำทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ก็ต้องยอมรับอำนาจบางอย่างที่มากำกับนักการเมืองอยู่ เช่นองค์กรอิสระ

"ผมมองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่จะค่อยๆ เกิดขึ้น อีกทั้งการรัฐประหาร ปี 2549 ก็เป็นบทเรียนให้คนที่อยู่ในแวดวงทหารได้เรียนรู้ว่ายิ่งทำรัฐประหาร สถานะของทหารจะอยู่ได้ยากยิ่งขึ้น กระทั่งรัฐบาลที่มาภายหลังรัฐประหารได้หายไปจากความทรงจำของประชาชน

"หากรัฐประหารอีกครั้งจะต้องถูกคัดค้านแน่นอน ไม่ใช่เพียงคนเสื้อแดงเท่านั้น" สมชายกล่าวทิ้งท้าย

นั่นคือทรรศนะที่มีต่อประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของประเทศ อันเป็นการ "ก้าวพลาด" ครั้งใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเก็บรับเป็นบทเรียน

เพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์ไทยโพตส์

ผลสรุปคดีประวัติศาสตร์เผาเมือง เสื้อดำ กระสุนจริง
 คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) สรุปผลรายงาน การค้นหาความจริงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ฉบับสมบูรณ์ หลังครบวาระการทำงาน 2 ปี จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถนำไปอ้างอิง เพราะมีความน่าเชื่อถือและดำเนินอย่างเป็นกลางที่สุดเท่าที่มีการดำเนินการกันมา
 
นั่นเพราะหลักฐานและข้อมูลนั้น คอป.ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ศาล อัยการ หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม ได้แก่ กรมราชทัณฑ์ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมสอบสวนคดีพิเศษ คอป. ได้รับการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลผู้ต้องขัง บัญชีพยาน คำร้องการไต่สวน คำพิพากษาในคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองและความไม่สงบในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษ

ภาคม 2553 รายชื่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง และการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง
 
รวมไปถึงการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและเยียวยาผู้ต้องขังในคดีความผิดต่อพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 รวมถึงการสำรวจและบันทึกคำบอกเล่าผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในประเทศไทย เพื่อการเยียวยาและการปรองดองทางสังคม แน่นอนว่าจะมีคนบางกลุ่มไม่พอใจผลสรุปนี้  นั่นเพราะไม่อาจนำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองและคดีได้ง่ายดายเหมือนที่ผ่านมา

 
ผลสรุป คอป.ระบุว่า พบหลักฐานชายชุดดำ คือบุคคลที่ไม่ทราบฝ่ายแน่ชัด ไม่ประกาศตัวชัด แต่ใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่ทั้งก่อนและหลัง 10 เม.ย. 2553 จากหลักฐานกองพิสูจน์หลักฐานตำรวจ พบมีการใช้ เอ็ม 79 และปืนเล็กยาวยิงใส่เจ้าหน้าที่ด้วย โดยการเสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม พบว่าเสียชีวิตเพราะระเบิดเอ็ม 67 ไม่ใช่กระสุนปืนอย่างที่เคยเข้าใจ

 
เจ้าหน้าที่ทหารนำอาวุธ ปลย. และกระสุนจริงไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย หลังถูกโจมตีด้วยลูกระเบิด เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธ ปลย. กระสุนจริงยิงไปในทิศทางที่มีผู้ชุมนุมอยู่หนาแน่น โดยปรากฏร่องรอยกระสุนปืนจำนวนมาก พบผู้ชุมนุมเสียชีวิตและบาดเจ็บจากกระสุน ปลย. หรือกระสุนความเร็วสูง จำนวนมาก
 
มีผู้พบเห็นกลุ่มคนชุดดำ มีอาวุธ ปลย.และเครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 อย่างน้อย 5 คน อ้างว่าเป็นลูกน้องพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เคลื่อนไหวอยู่ในซอยต่างๆ บริเวณชุมชนบ่อนไก่และซอยงามดูพลี โดยควบคุมการปฏิบัติการของการ์ดผู้ชุมนุม เชื่อได้ว่าเป็นกลุ่มที่ใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่ทหาร ผู้ให้ข้อมูลยังได้พบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 ถึง 3 นาย แต่งกายครึ่งท่อน ซึ่งผู้ให้ข้อมูลรู้จัก อยู่ในบริเวณนั้นด้วย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มดังกล่าวได้ห้ามมิให้ชาวบ้านพูดเรื่องคนชุดดำให้คนอื่นทราบ

 
ผลสรุปในเหตุการณ์บริเวณวัดปทุมวนาราม วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 พบรอยเลือดบริเวณใต้ต้นไม้ด้านหลังศาลาสินธุเสก ติดกับกำแพงวัดด้านห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน ในจุดที่เจ้าหน้าที่ทหารให้ปากคำว่า มีคนชุดดำอยู่บนต้นไม้กำลังยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ทหารจึงยิงปืนตอบโต้กลับไป ทั้งจากการสัมภาษณ์และตรวจสถานที่เกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งได้เข้าไปในวัดปทุมวนารามเมื่อเช้ามืดของวันที่ 20 พฤษภาคม ให้ข้อมูลว่า พบปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 จำนวนหนึ่ง ตกอยู่ริมรั้วด้านในวัดบริเวณหน้าศาลาสินธุเสก และพบปืนเอ็ม 16 ถูกซ่อนไว้ในบริเวณใกล้เคียง
        
พบความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของรัฐ โดยเฉพาะ ศอฉ.ไม่มีระบบการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่ออกไปปฏิบัติการ นอกจากรอรับรายงาน ไม่มีการประเมินผลว่าคำสั่งปฏิบัติการจะมีผลอย่างไรกับผู้ชุมนุม ทำให้ผู้บริหารบางคนยังเข้าใจว่าไม่มีการใช้กระสุนจริง ทั้งที่จริงมีการใช้กระสุนจริงด้วย
 
ผลสรุปนี้สะท้อนให้เห็นว่า มีการต่อสู้โดยใช้อาวุธสงครามระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกองกำลังติดอาวุธชุดดำจริง มีการใช้กระสุนจริง มีผู้ชุมนุมถูกเจ้าหน้าที่รัฐยิงเสียชีวิตจริง มีประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐถูกสังหารโดยกองกำลังชุดดำจริง ทั้งหมดคือความจริงที่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะมีความพยายามเหมือนอย่างที่แกนนำแดงบิดเบือนว่า ไม่มีชายชุดดำก็ตาม.


วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

บทความคมชัดลึก

ยุค ใครทำดีได้ชั่ว-ใครทำชั่วได้ดี!
ใครบางคนพูดว่า ชาติไทยมีตำรวจดีคนเดียวเท่านั้น คือ ตำรวจที่ยืนโด่เด่อยู่ในกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติโน่นไง!
      
       
แต่ใครคนนั้นก็เปรยต่อว่า ที่รูปปั้นตำรวจยังอุ้มราษฎรไว้ในวงแขนจนทุกวันนี้ เพราะรูปปั้นนั้นไร้ชีวิตไร้จิตวิญญาณ..
      
       
หากรูปปั้นตำรวจมีชีวิตเยี่ยงมนุษย์อยู่ในสังคมโจรครองเมืองดังปัจจุบัน รูปปั้นตำรวจคนนั้น คงเปลี่ยนจากตำรวจดีๆ ของประชาชน ไปเข้ากับตำรวจโจรที่พร้อมจะทำทุกอย่างให้ มหาโจรเหลี่ยมสะดวกกับการปล้นบ้านปล้นเมือง..จริงไหม?
      
       
สังคมมหาโจรครองเมืองนั้น ตำรวจดีที่เสี่ยงชีวิตไล่จับโจร หรือมีจิตใจเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ โอกาสจะได้เป็นใหญ่ในหน้าที่การงานน้อยมาก แต่ตำรวจที่บ้าอำนาจ-เงินทองเป็นสรณะ อีกทั้งหน้าต้องด้านใจต้องกล้ากราบตีนมหาโจร ที่หนีคำพิพากษาศาลไปอยู่ในต่างแดนโน่น ถึงจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นใหญ่ในวงการตำรวจ

      
       
ทั้งๆ ที่ตำรวจชั่วแบบนั้น ประชาชนชุบเลี้ยงต่อไปก็เปลืองข้าวสุก เพราะได้กลายเป็นงูเห่าแว้งกัดประชาชนคนดีอยู่ในขณะนี้
      
       
สังคมใด..หากมีตำรวจเห็นกงจักรเป็นดอกบัวขึ้นเป็นใหญ่ สังคมจะไร้ขื่อแปและสูญสิ้นความยุติธรรมเบื้องต้นไปโดยปริยาย
      
       
ตำรวจชั่วจะให้ความยุติธรรมใครได้อีกล่ะ? เป็นตำรวจแต่กลับไปกราบตีนนักโทษหนีคุก เป็นตำรวจแต่กลับนับถือนักโทษอาญาเหนือสิ่งอื่นใด จนมองไม่เห็นความผิดของนักโทษที่ถูกศาลตัดสินให้ต้องจำคุก 2 ปี และหนีหมายศาลอีกหลายคดี
      
       
ที่สำคัญ..เป็นตำรวจชั่วที่บังอาจทำตัวเหนืออำนาจศาล!
      
       
ตำรวจที่จงใจให้ผู้ร้ายติดยศเพื่อเป็นสิริมงคล จากยศที่ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะนักโทษชายหน้าเหลี่ยมคนนี้ เป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้ายที่สนับสนุนขบวนการแดงล้มเจ้าอีกด้วย!
      
       
ที่น่าเจ็บใจ คือ ตำรวจชั่วๆ พวกนี้ไม่ได้กินเงินเดือนของมหาโจร แต่กินเงินเดือนจากภาษีคนไทยทั้งชาติ ทว่า..แทนที่จะทำงานรับใช้ประชาชนอย่างซื่อสัตย์ กลับดันไปรับใช้ มหาโจรเหลี่ยมและพวกแดงเผาบ้านเผาเมือง-ก่อการร้าย ฆ่าทหารและประชาชนหน้าตาเฉย
      
       
แน่นอน..รัฐบาลที่มหาโจรเหลี่ยมบงการ ซึ่งมีนายกฯ สมองกลวงและรองนายกฯ หรือครม. “White Lies” ไม่มีวันจะอยู่ค้ำฟ้า การที่ตำรวจชั่วบางคนท้าท้ายอย่างอหังการทำนองว่า
      
       
หากเปลี่ยนรัฐบาล..ไม่ต้องไล่..กูออกเอง!
      
       
ตำรวจที่ไม่ยอมจับผู้ร้าย-กลับไปรับใช้ผู้ร้าย แถมให้ผู้ร้ายติดยศบนบ่า แล้วเอารูปมาติดโชว์หราน่ะ..มันผิดกฎหมาย (โว้ย) จึงมิใช่แค่ลาออก..แต่ต้องติดคุกด้วย (ว่ะ)!
      
       
เพราะผิดทั้งวินัยร้ายแรงและผิดกฎหมายหลายฉบับ อีกทั้งยังผิดกฎหมายมาตรา157 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่กลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำชั่วช้าสามานย์แบบนั้น จึงสิ้นสุดความเป็นตำรวจของประชาชนแล้ว เพราะได้กลายเป็นตำรวจส่วนตัวของมหาโจรเหลี่ยมเต็มตัวแล้วครับ!
      
       
ดังนั้น อย่าเสียเวลาไปถกเหตุผลถูก-ผิด-ควร-ไม่ควร หรือเรียกหาความยุติธรรมจากตำรวจชั่วพวกนี้อีกต่อไป วันนี้..ข้าราชการใหญ่กลุ่มหนึ่งที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำของชาติไทย ได้สูญสิ้นมโนสำนึกอันดีงาม ยอมตนเป็นขี้ข้าของมหาโจรการเมืองหน้าเหลี่ยมไปเสียแล้ว
      
       
ความยุติธรรมจึงถูกรุมฆ่าจนแทบจะสูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย!
      
       
ก็ขนาดแดงเผาบ้านเผาเมืองเผาศาลากลาง ฆ่าทหารและผู้คนเป็นข่าวภาพฉาวไปทั้งโลกแท้ๆ คนชั่วในกระบวนการยุติธรรมไทยบางคน ยังกำลังจะทำให้คนผิดกลายเป็นคนถูก ยังทำให้ทหารที่เสียชีวิตจนต้องจากพ่อแม่พี่น้องลูกเมียก่อนวัยอันควร เพื่อนำความสงบกลับคืนมาสู่สังคมไทยอีกครั้ง กำลังโดนยัดข้อหาให้กลายเป็นฆาตกรอย่างอธรรมที่สุด
      
       
ภัยอันตรายต่อความมั่นคงของชาติไทยวันนี้ ที่แท้คือ..ชาติไทยมีมหาโจรครองเมือง แถมยังมีตำรวจชั่วบางกลุ่มเป็นโจร ข้าราชการใหญ่กลุ่มหนึ่งเป็นขี้ข้ารับใช้กลุ่มมหาโจรการเมืองชั่วทำร้ายชาติบ้านเมืองครับ
      
       
ตำรวจชั่วนั้น จะมีอำนาจอยู่ในมือตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจะใช้ข้อหาเท็จ-หลักฐานเท็จ-ใช้กฎหมายอธรรม ยัดเยียดความผิดอันจอมปลอมให้ใครก็ได้ แถมยังมีอาวุธปืนที่พร้อมจะใช้เป็นศาลเตี้ย เพื่อวิสามัญชีวิตใครก็ได้ในใต้หล้า ฯลฯ
      
       
มหาโจรหน้าเหลี่ยมจึงพยายามที่จะสร้างรัฐตำรวจชั่วขึ้นบนแผ่นดินไทย เพื่อหวังจะใช้ตำรวจเป็นอีกกองกำลังหนึ่ง ไว้ทำลายอริทางการเมืองและรับใช้พวกตนครับ
      
       
อลัชชี-เป็นคนชั่วที่ใส่ผ้าเหลืองหลอกผู้คนว่า-เป็นพระเมื่อใดที่ชาวพุทธรู้..อลัชชีชั่วมักถูกประชาทัณฑ์ หรือถูกกฎหมายลงโทษฉันใด ตำรวจชั่ว-ก็มิได้ต่างไปจากอลัชชีฉันนั้น
      
       
แค่คนชั่วมาสวมใส่เครื่องแบบสีกากี แล้วใช้อำนาจอธรรม-ข่มขู่-คุกคามประชาชนไปวันๆ พฤติกรรมชั่วที่มิใช่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่แท้จริง จึงปรากฏจากกมลสันดานมาให้ผู้คนได้รู้ได้เห็นอย่างเปิดเผย จนทำให้ตำรวจส่วนใหญ่ที่ดีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงไปด้วย และแน่นอน..ทำให้ประชาชนก่นด่าขับไล่ สุดท้าย..ก็หนีไม่พ้นคุกตะราง..
      
       
นั่นยังไม่รวมการทำชั่วต่อแผ่นดินไทยอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเวรกรรมมหันต์จะต้องตามสนองในบั้นปลายอีกด้วยครับ!
      
       
เฮ้อ..เมื่อน้องชั่วๆ ทั้งหลาย-กล้าทำชั่วให้พี่ น้องจึงมีวันนี้..เพราะพี่ให้ไงล่ะ ยุคมหาโจรหน้าเหลี่ยมครองเมืองน่ะ..ใครทำชั่วได้ดี-ใครทำดีได้ชั่ว..โว้ย..ฮ่าฮ่าฮ่า...