วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ครบรอบ 6 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 บทเรียนและที่มาที่ไปของรัฐ ประหารดังกล่าวคืออะไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

รัฐประหารแก้ปัญหาการเมืองได้หรือไม่ หรือกลับยิ่งสร้างแนวโน้มของโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารขึ้นอีก เป็นคำถามที่ท้าทายการถกเถียง

ลองฟังจากนักวิชาการที่ติดตามปัญหาการเมืองไทยมาตลอด

รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐประหารในปี 2549 แตกต่างจากครั้งอื่น

เพราะได้เปิดตัวผู้เล่นทางการเมืองที่เคยอยู่เบื้องหลังมาปรากฏให้สังคมรับรู้ชัดเจนขึ้น

ทำให้เกิดคำถามที่ต่างไปจากเดิม ความเปลี่ยนแปลงตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีน้ำหนัก

กลายเป็นว่าการรัฐประหารถูกทำให้เป็นคนละขั้วกับการเลือกตั้ง และแนวโน้มความต้องการเรียกร้องของประชาชนให้เคารพสิทธิการเลือกตั้ง โดยไม่เอาการรัฐประหารมาล้มล้างเจตนารมณ์ที่เกิดจากการเลือกตั้งจะรุนแรงและชัดเจนขึ้น

"สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงคือ การเมืองถูกกำหนดโดยการต่อรองของกลุ่มคนชั้นนำอยู่เช่นเดิม ประชาชนเห็นภาพเหล่านั้นชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดการเรียกร้องเข้าไปมีส่วนในพื้นที่ต่อรองด้วย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ในการแข่งขันทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา" รศ.สิริพรรณกล่าว

นักวิชาการรัฐศาสตร์จากจุฬาฯยังกล่าวว่า อยากเห็นการเปิดพื้นที่การต่อรองและการแสดงความเห็นอย่างจริงจัง

ไม่ใช่แค่การจัดเสวนา ประชุม คณะกรรมการอิสระเข้ามาแสดงความคิดเห็นและรับฟังเท่านั้น ภาครัฐควรเข้ามามีบท บาทด้วย เช่น การทำประชามติ ประชาพิจารณ์ ที่มีผลบังคับใช้จริง ครอบคลุมตามกระบวนการมาตรฐานสากล



เพื่อช่วยระบายความคับข้องใจของประชาชน ไม่ใช่แค่การชุมนุมที่ท้องถนน การประท้วงที่ไม่ได้ทำให้เกิดการแก้ไขในระยะยาว และอาจกลายเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ทุกฝ่ายควรเคารพกติกาประชาธิปไตย ไม่ใช้ความรุนแรง ให้การเมืองและสังคมเดินหน้าต่อไปได้

อาจจะช้า เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองไทยยังถูกชนชั้นนำผูกขาด แต่การเติบโตของคนชั้นกลางจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองเหล่านี้ผ่านระบบเศรษฐกิจ และต้องการพื้นที่ต่อรองผลประโยชน์มากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับรัฐประหาร

อีกมุมหนึ่ง จาก ปกรณ์ ปรียากร อดีต คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้ทรรศนะว่าในโลกประชาธิปไตย ไม่มีใครต้องการรัฐประหารอีก

แต่เหตุผลที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อ้างในการรัฐประหาร สะท้อนให้เห็นประเด็นที่สังคมต้องระมัดระวังและแก้ไขให้ได้ 3 เรื่องด้วยกัน

1.การเป็นประชาธิปไตย ต้องรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง 2.พฤติกรรมของนักการเมืองที่คดโกงแผ่นดิน ควรได้รับการตระหนักอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่วิธีรัฐประหาร เพราะรัฐบาลไม่อาจแก้ไขพฤติกรรมอย่างนั้นได้ มิหนำซ้ำคณะบุคคลที่ทำการรัฐประหาร อาจจะประ พฤติซ้ำรอยกับบุคคลที่ถูกกล่าวอ้าง

และ 3.ควรตระหนักถึงคตินิยมที่ว่า "โกงไม่เป็นไรขอให้ทำงานได้ก็แล้วกัน" เป็นการส่งเสริมให้คนโกงมีความเหิมเกริม ก่อให้เกิดความวิบัติของสังคมการเมือง

"นักการเมืองไม่ควรปฏิเสธการถูกตรวจสอบจากสังคม ต้องกล้าที่จะยอมรับผิด ไม่เช่นนั้นรัฐประหารจะกลับมาอีก" ปกรณ์กล่าว

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหารหรือมองว่าเป็นเรื่องปกติจะมีพื้นที่พูดน้อยลง

แต่ความรู้สึกว่ารัฐประหารไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ปัญหาทางการเมืองมีพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากการรัฐประหาร 2549 จบลงด้วยการล้มเหลวก็ว่าได้ ทุกอย่างที่ประกาศไว้ว่าเป็นเหตุผลของการรัฐประหารจนถึงตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้นเลย

"ความล้มเหลวของการรัฐประหาร 2549 คนเห็นตรงกัน แต่ถึงขั้นมองว่าการรัฐประหารเป็นเรื่องที่ผิดหรือเปล่ายังไม่แน่ คิดว่าการเกิดรัฐประหารอย่าง 2549 คงจะยากขึ้นแล้ว" ศิโรตม์กล่าว

ศิโรตม์ยังกล่าวอีกว่า ความคิดเห็นเรื่องประชาธิปไตยนั้นยังไม่ได้เติบโตขึ้นเท่าที่ควร อาจมีคนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ก็ไม่ได้ยึดว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่จะทำให้สังคมดีขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ พรรคเพื่อไทยคิดว่าการที่ประชาชนยอมรับในตอนนี้ เป็นผลมาจากการที่เขาไม่พอใจระบบการเมืองหลังปี 2549

"เพราะฉะนั้นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพยายามทำให้พรรคเป็นองค์กรที่ทำให้เกิดการปฏิรูปมากขึ้น ประชาชนก็ไม่ได้เลือกฝ่ายนี้โดยไม่มีเงื่อนไข แต่เลือกเพราะมีคาดความหวังที่อยากเห็นประชาธิปไตยอยู่ แต่พรรคเพื่อไทยดูจะไม่ได้สนใจเท่าไร" ศิโรตม์กล่าว

สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ของสังคมไทยก่อนและหลังเหตุการณ์รัฐประหารเป็นต้นมา เป็นช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่พยายามจะผูกขาดอำนาจ เป็นการต่อสู้ที่พยายามโค่นล้ม อีกฝ่าย เห็นได้จากสโลแกน ประเภท สงครามครั้งสุดท้าย และการใช้ความรุนแรงอย่างมาก พอถึงปัจจุบันสถานการณ์นี้ค่อยๆ เปลี่ยนไป

"สถาบันการเมืองเริ่มยอมรับว่าเป็นระบบที่มาจากการเลือกตั้งที่จะต้องมีอยู่ต่อไป รวมถึงการยอมรับในระบบคนเสื้อแดงที่จะต้องเกิดขึ้นมา

"เดิมคิดว่าถูกคนจ้างมา ตอนนี้เป็นกลุ่มพลังในสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้" อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชี้

สมชายกล่าวว่า การเดินหน้าต่อไปของสังคมนั้นถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น เสียงที่สุดขั้ว ถูกทำให้เบาลง ทุกฝ่ายเดินเข้าหากัน อยู่ในช่วงต่อรองและรับรู้เข้าใจว่าจะรับได้บางส่วน

เช่น สถาบันทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็รู้ว่าได้รับระบบการเลือกตั้งแน่นอน ขณะเดียวกัน ในเมื่อยังไม่สามารถสถาปนาอำนาจนำทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ก็ต้องยอมรับอำนาจบางอย่างที่มากำกับนักการเมืองอยู่ เช่นองค์กรอิสระ

"ผมมองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่จะค่อยๆ เกิดขึ้น อีกทั้งการรัฐประหาร ปี 2549 ก็เป็นบทเรียนให้คนที่อยู่ในแวดวงทหารได้เรียนรู้ว่ายิ่งทำรัฐประหาร สถานะของทหารจะอยู่ได้ยากยิ่งขึ้น กระทั่งรัฐบาลที่มาภายหลังรัฐประหารได้หายไปจากความทรงจำของประชาชน

"หากรัฐประหารอีกครั้งจะต้องถูกคัดค้านแน่นอน ไม่ใช่เพียงคนเสื้อแดงเท่านั้น" สมชายกล่าวทิ้งท้าย

นั่นคือทรรศนะที่มีต่อประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของประเทศ อันเป็นการ "ก้าวพลาด" ครั้งใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเก็บรับเป็นบทเรียน

เพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก

บทวิเคราะห์เดลินิวส์

ต้องให้สมราคาหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
วันอังคารที่ 25 กันยายน 2555
คงไม่จบลงโดยง่าย สำหรับคดี ที่ดินอัลไพน์ของ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ที่แม้หลายฝ่ายจะยืนยันว่า มีความผิด แต่ถูก พ.ร.บ.ล้างมลทิน ชำระสะสางเป็นไปที่เรียบร้อย

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ที่ผ่านมา หลังประชุมคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า

พรรคจะดำเนินการกับนายยงยุทธใน3 ช่องทาง คือ

1. ให้ ส.ส. เข้าชื่อ 1 ใน 10 หรือ 50 คน เพื่อร้องต่อประธานสภา ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยคุณสมบัติ

2. ยื่นคำร้องไปที่ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา และ

3. ยื่นคำร้องไปที่ กกต. เพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ

แม้หน่วยราชการทั้ง คณะกรรมการกฤษฎีกา และ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย จะมองว่า
เข้าข่าย เกี่ยวกับการล้างมลทิน แต่พรรคประชาธิปัตย์ มองว่า ไม่เข้าข่าย

โดยเฉพาะเหตุผลที่ว่า ในปี 2546
2548 นายยงยุทธ ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นกรรมการที่ปรึกษา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีต รมช.สาธารณสุข เป็นประธานคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้านครหลวง และเป็นประธานกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าด้วย ซึ่งหากในช่วงนั้นนายยงยุทธ ต้องโทษถูกไล่ออกก็จะขาดคุณสมบัติ จนไม่สามารถดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ หากนายยงยุทธก็ดำรงตำแหน่งเรื่อยมา

กรณีนี้ จึงต้องให้ผู้มีหน้าที่ อย่างศาลรัฐธรรมนูญ กกต. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน
ชี้ขาด

หาก
เข้าข่าย ได้ล้างมลทิน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับเก้าอี้รัฐมนตรีของนายยงยุทธ แต่หาก ไม่เข้าข่ายนอกจาก งานจะเข้าที่เจ้าตัวต้องรับไปเต็ม ๆ แล้ว ยังน่าจะ ลุกลามไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อีกด้วย

ในสภาพความจริงทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย เวลานี้ บอกได้เลยว่า มีหลายคนที่มีคุณสมบัตินั่งเก้าอี้แทน นายยงยุทธ ได้อย่างสบาย

เอาแค่ที่ปรากฏเป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น โภคิน พลกุล
, เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ หรือแม้กระทั่ง นายจตุพร พรหมพันธุ์

ต้องไม่ลืมว่า สำหรับพรรคเพื่อไทยแล้ว นายยงยุทธ มีความสำคัญยิ่ง เพราะทำหน้าที่เป็น หัวหน้าพรรค

นายยงยุทธ เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ต่อจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์

นายยงยุทธ สร้างผลงานเข้าตาเจ้าของพรรคตัวจริง ด้วยการจับสลากได้
เบอร์ 1 ในช่วงก่อนที่จะมีการรณรงค์เลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. 54 ที่ผ่านมา

อย่าคิดว่า หัวหน้าพรรคนั้นใครจะมาเป็นกันง่าย ๆ ในกรณีของพรรคเพื่อไทย หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคถูก
ออกแบบไว้สู้กับการ ยุบพรรค ซึ่งจะต้องถูกเว้นวรรคการเมือง 5 ปี ตามไปด้วย

สวมหัวโขนหัวหน้าพรรคอันดับ 1 ทั้งที่
ใจคอจะไม่ให้มีฤทธิ์มีเดชบ้างเลยเชียวหรือ.

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์มติชน

ครบรอบ 6 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 บทเรียนและที่มาที่ไปของรัฐ ประหารดังกล่าวคืออะไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

รัฐประหารแก้ปัญหาการเมืองได้หรือไม่ หรือกลับยิ่งสร้างแนวโน้มของโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารขึ้นอีก เป็นคำถามที่ท้าทายการถกเถียง

ลองฟังจากนักวิชาการที่ติดตามปัญหาการเมืองไทยมาตลอด

รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐประหารในปี 2549 แตกต่างจากครั้งอื่น

เพราะได้เปิดตัวผู้เล่นทางการเมืองที่เคยอยู่เบื้องหลังมาปรากฏให้สังคมรับรู้ชัดเจนขึ้น

ทำให้เกิดคำถามที่ต่างไปจากเดิม ความเปลี่ยนแปลงตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีน้ำหนัก

กลายเป็นว่าการรัฐประหารถูกทำให้เป็นคนละขั้วกับการเลือกตั้ง และแนวโน้มความต้องการเรียกร้องของประชาชนให้เคารพสิทธิการเลือกตั้ง โดยไม่เอาการรัฐประหารมาล้มล้างเจตนารมณ์ที่เกิดจากการเลือกตั้งจะรุนแรงและชัดเจนขึ้น

"สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงคือ การเมืองถูกกำหนดโดยการต่อรองของกลุ่มคนชั้นนำอยู่เช่นเดิม ประชาชนเห็นภาพเหล่านั้นชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดการเรียกร้องเข้าไปมีส่วนในพื้นที่ต่อรองด้วย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ในการแข่งขันทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา" รศ.สิริพรรณกล่าว

นักวิชาการรัฐศาสตร์จากจุฬาฯยังกล่าวว่า อยากเห็นการเปิดพื้นที่การต่อรองและการแสดงความเห็นอย่างจริงจัง

ไม่ใช่แค่การจัดเสวนา ประชุม คณะกรรมการอิสระเข้ามาแสดงความคิดเห็นและรับฟังเท่านั้น ภาครัฐควรเข้ามามีบท บาทด้วย เช่น การทำประชามติ ประชาพิจารณ์ ที่มีผลบังคับใช้จริง ครอบคลุมตามกระบวนการมาตรฐานสากล



เพื่อช่วยระบายความคับข้องใจของประชาชน ไม่ใช่แค่การชุมนุมที่ท้องถนน การประท้วงที่ไม่ได้ทำให้เกิดการแก้ไขในระยะยาว และอาจกลายเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ทุกฝ่ายควรเคารพกติกาประชาธิปไตย ไม่ใช้ความรุนแรง ให้การเมืองและสังคมเดินหน้าต่อไปได้

อาจจะช้า เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองไทยยังถูกชนชั้นนำผูกขาด แต่การเติบโตของคนชั้นกลางจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองเหล่านี้ผ่านระบบเศรษฐกิจ และต้องการพื้นที่ต่อรองผลประโยชน์มากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับรัฐประหาร

อีกมุมหนึ่ง จาก ปกรณ์ ปรียากร อดีต คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้ทรรศนะว่าในโลกประชาธิปไตย ไม่มีใครต้องการรัฐประหารอีก

แต่เหตุผลที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อ้างในการรัฐประหาร สะท้อนให้เห็นประเด็นที่สังคมต้องระมัดระวังและแก้ไขให้ได้ 3 เรื่องด้วยกัน

1.การเป็นประชาธิปไตย ต้องรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง 2.พฤติกรรมของนักการเมืองที่คดโกงแผ่นดิน ควรได้รับการตระหนักอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่วิธีรัฐประหาร เพราะรัฐบาลไม่อาจแก้ไขพฤติกรรมอย่างนั้นได้ มิหนำซ้ำคณะบุคคลที่ทำการรัฐประหาร อาจจะประ พฤติซ้ำรอยกับบุคคลที่ถูกกล่าวอ้าง

และ 3.ควรตระหนักถึงคตินิยมที่ว่า "โกงไม่เป็นไรขอให้ทำงานได้ก็แล้วกัน" เป็นการส่งเสริมให้คนโกงมีความเหิมเกริม ก่อให้เกิดความวิบัติของสังคมการเมือง

"นักการเมืองไม่ควรปฏิเสธการถูกตรวจสอบจากสังคม ต้องกล้าที่จะยอมรับผิด ไม่เช่นนั้นรัฐประหารจะกลับมาอีก" ปกรณ์กล่าว

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหารหรือมองว่าเป็นเรื่องปกติจะมีพื้นที่พูดน้อยลง

แต่ความรู้สึกว่ารัฐประหารไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ปัญหาทางการเมืองมีพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากการรัฐประหาร 2549 จบลงด้วยการล้มเหลวก็ว่าได้ ทุกอย่างที่ประกาศไว้ว่าเป็นเหตุผลของการรัฐประหารจนถึงตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้นเลย

"ความล้มเหลวของการรัฐประหาร 2549 คนเห็นตรงกัน แต่ถึงขั้นมองว่าการรัฐประหารเป็นเรื่องที่ผิดหรือเปล่ายังไม่แน่ คิดว่าการเกิดรัฐประหารอย่าง 2549 คงจะยากขึ้นแล้ว" ศิโรตม์กล่าว

ศิโรตม์ยังกล่าวอีกว่า ความคิดเห็นเรื่องประชาธิปไตยนั้นยังไม่ได้เติบโตขึ้นเท่าที่ควร อาจมีคนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ก็ไม่ได้ยึดว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่จะทำให้สังคมดีขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ พรรคเพื่อไทยคิดว่าการที่ประชาชนยอมรับในตอนนี้ เป็นผลมาจากการที่เขาไม่พอใจระบบการเมืองหลังปี 2549

"เพราะฉะนั้นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพยายามทำให้พรรคเป็นองค์กรที่ทำให้เกิดการปฏิรูปมากขึ้น ประชาชนก็ไม่ได้เลือกฝ่ายนี้โดยไม่มีเงื่อนไข แต่เลือกเพราะมีคาดความหวังที่อยากเห็นประชาธิปไตยอยู่ แต่พรรคเพื่อไทยดูจะไม่ได้สนใจเท่าไร" ศิโรตม์กล่าว

สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ของสังคมไทยก่อนและหลังเหตุการณ์รัฐประหารเป็นต้นมา เป็นช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่พยายามจะผูกขาดอำนาจ เป็นการต่อสู้ที่พยายามโค่นล้ม อีกฝ่าย เห็นได้จากสโลแกน ประเภท สงครามครั้งสุดท้าย และการใช้ความรุนแรงอย่างมาก พอถึงปัจจุบันสถานการณ์นี้ค่อยๆ เปลี่ยนไป

"สถาบันการเมืองเริ่มยอมรับว่าเป็นระบบที่มาจากการเลือกตั้งที่จะต้องมีอยู่ต่อไป รวมถึงการยอมรับในระบบคนเสื้อแดงที่จะต้องเกิดขึ้นมา

"เดิมคิดว่าถูกคนจ้างมา ตอนนี้เป็นกลุ่มพลังในสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้" อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชี้

สมชายกล่าวว่า การเดินหน้าต่อไปของสังคมนั้นถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น เสียงที่สุดขั้ว ถูกทำให้เบาลง ทุกฝ่ายเดินเข้าหากัน อยู่ในช่วงต่อรองและรับรู้เข้าใจว่าจะรับได้บางส่วน

เช่น สถาบันทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็รู้ว่าได้รับระบบการเลือกตั้งแน่นอน ขณะเดียวกัน ในเมื่อยังไม่สามารถสถาปนาอำนาจนำทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ก็ต้องยอมรับอำนาจบางอย่างที่มากำกับนักการเมืองอยู่ เช่นองค์กรอิสระ

"ผมมองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่จะค่อยๆ เกิดขึ้น อีกทั้งการรัฐประหาร ปี 2549 ก็เป็นบทเรียนให้คนที่อยู่ในแวดวงทหารได้เรียนรู้ว่ายิ่งทำรัฐประหาร สถานะของทหารจะอยู่ได้ยากยิ่งขึ้น กระทั่งรัฐบาลที่มาภายหลังรัฐประหารได้หายไปจากความทรงจำของประชาชน

"หากรัฐประหารอีกครั้งจะต้องถูกคัดค้านแน่นอน ไม่ใช่เพียงคนเสื้อแดงเท่านั้น" สมชายกล่าวทิ้งท้าย

นั่นคือทรรศนะที่มีต่อประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของประเทศ อันเป็นการ "ก้าวพลาด" ครั้งใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเก็บรับเป็นบทเรียน

เพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์ไทยโพตส์

ผลสรุปคดีประวัติศาสตร์เผาเมือง เสื้อดำ กระสุนจริง
 คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) สรุปผลรายงาน การค้นหาความจริงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ฉบับสมบูรณ์ หลังครบวาระการทำงาน 2 ปี จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถนำไปอ้างอิง เพราะมีความน่าเชื่อถือและดำเนินอย่างเป็นกลางที่สุดเท่าที่มีการดำเนินการกันมา
 
นั่นเพราะหลักฐานและข้อมูลนั้น คอป.ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ศาล อัยการ หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม ได้แก่ กรมราชทัณฑ์ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมสอบสวนคดีพิเศษ คอป. ได้รับการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลผู้ต้องขัง บัญชีพยาน คำร้องการไต่สวน คำพิพากษาในคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองและความไม่สงบในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษ

ภาคม 2553 รายชื่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง และการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง
 
รวมไปถึงการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและเยียวยาผู้ต้องขังในคดีความผิดต่อพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 รวมถึงการสำรวจและบันทึกคำบอกเล่าผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในประเทศไทย เพื่อการเยียวยาและการปรองดองทางสังคม แน่นอนว่าจะมีคนบางกลุ่มไม่พอใจผลสรุปนี้  นั่นเพราะไม่อาจนำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองและคดีได้ง่ายดายเหมือนที่ผ่านมา

 
ผลสรุป คอป.ระบุว่า พบหลักฐานชายชุดดำ คือบุคคลที่ไม่ทราบฝ่ายแน่ชัด ไม่ประกาศตัวชัด แต่ใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่ทั้งก่อนและหลัง 10 เม.ย. 2553 จากหลักฐานกองพิสูจน์หลักฐานตำรวจ พบมีการใช้ เอ็ม 79 และปืนเล็กยาวยิงใส่เจ้าหน้าที่ด้วย โดยการเสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม พบว่าเสียชีวิตเพราะระเบิดเอ็ม 67 ไม่ใช่กระสุนปืนอย่างที่เคยเข้าใจ

 
เจ้าหน้าที่ทหารนำอาวุธ ปลย. และกระสุนจริงไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย หลังถูกโจมตีด้วยลูกระเบิด เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธ ปลย. กระสุนจริงยิงไปในทิศทางที่มีผู้ชุมนุมอยู่หนาแน่น โดยปรากฏร่องรอยกระสุนปืนจำนวนมาก พบผู้ชุมนุมเสียชีวิตและบาดเจ็บจากกระสุน ปลย. หรือกระสุนความเร็วสูง จำนวนมาก
 
มีผู้พบเห็นกลุ่มคนชุดดำ มีอาวุธ ปลย.และเครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 อย่างน้อย 5 คน อ้างว่าเป็นลูกน้องพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เคลื่อนไหวอยู่ในซอยต่างๆ บริเวณชุมชนบ่อนไก่และซอยงามดูพลี โดยควบคุมการปฏิบัติการของการ์ดผู้ชุมนุม เชื่อได้ว่าเป็นกลุ่มที่ใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่ทหาร ผู้ให้ข้อมูลยังได้พบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 ถึง 3 นาย แต่งกายครึ่งท่อน ซึ่งผู้ให้ข้อมูลรู้จัก อยู่ในบริเวณนั้นด้วย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มดังกล่าวได้ห้ามมิให้ชาวบ้านพูดเรื่องคนชุดดำให้คนอื่นทราบ

 
ผลสรุปในเหตุการณ์บริเวณวัดปทุมวนาราม วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 พบรอยเลือดบริเวณใต้ต้นไม้ด้านหลังศาลาสินธุเสก ติดกับกำแพงวัดด้านห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน ในจุดที่เจ้าหน้าที่ทหารให้ปากคำว่า มีคนชุดดำอยู่บนต้นไม้กำลังยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ทหารจึงยิงปืนตอบโต้กลับไป ทั้งจากการสัมภาษณ์และตรวจสถานที่เกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งได้เข้าไปในวัดปทุมวนารามเมื่อเช้ามืดของวันที่ 20 พฤษภาคม ให้ข้อมูลว่า พบปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 จำนวนหนึ่ง ตกอยู่ริมรั้วด้านในวัดบริเวณหน้าศาลาสินธุเสก และพบปืนเอ็ม 16 ถูกซ่อนไว้ในบริเวณใกล้เคียง
        
พบความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของรัฐ โดยเฉพาะ ศอฉ.ไม่มีระบบการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่ออกไปปฏิบัติการ นอกจากรอรับรายงาน ไม่มีการประเมินผลว่าคำสั่งปฏิบัติการจะมีผลอย่างไรกับผู้ชุมนุม ทำให้ผู้บริหารบางคนยังเข้าใจว่าไม่มีการใช้กระสุนจริง ทั้งที่จริงมีการใช้กระสุนจริงด้วย
 
ผลสรุปนี้สะท้อนให้เห็นว่า มีการต่อสู้โดยใช้อาวุธสงครามระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกองกำลังติดอาวุธชุดดำจริง มีการใช้กระสุนจริง มีผู้ชุมนุมถูกเจ้าหน้าที่รัฐยิงเสียชีวิตจริง มีประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐถูกสังหารโดยกองกำลังชุดดำจริง ทั้งหมดคือความจริงที่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะมีความพยายามเหมือนอย่างที่แกนนำแดงบิดเบือนว่า ไม่มีชายชุดดำก็ตาม.


วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

บทความคมชัดลึก

ยุค ใครทำดีได้ชั่ว-ใครทำชั่วได้ดี!
ใครบางคนพูดว่า ชาติไทยมีตำรวจดีคนเดียวเท่านั้น คือ ตำรวจที่ยืนโด่เด่อยู่ในกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติโน่นไง!
      
       
แต่ใครคนนั้นก็เปรยต่อว่า ที่รูปปั้นตำรวจยังอุ้มราษฎรไว้ในวงแขนจนทุกวันนี้ เพราะรูปปั้นนั้นไร้ชีวิตไร้จิตวิญญาณ..
      
       
หากรูปปั้นตำรวจมีชีวิตเยี่ยงมนุษย์อยู่ในสังคมโจรครองเมืองดังปัจจุบัน รูปปั้นตำรวจคนนั้น คงเปลี่ยนจากตำรวจดีๆ ของประชาชน ไปเข้ากับตำรวจโจรที่พร้อมจะทำทุกอย่างให้ มหาโจรเหลี่ยมสะดวกกับการปล้นบ้านปล้นเมือง..จริงไหม?
      
       
สังคมมหาโจรครองเมืองนั้น ตำรวจดีที่เสี่ยงชีวิตไล่จับโจร หรือมีจิตใจเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ โอกาสจะได้เป็นใหญ่ในหน้าที่การงานน้อยมาก แต่ตำรวจที่บ้าอำนาจ-เงินทองเป็นสรณะ อีกทั้งหน้าต้องด้านใจต้องกล้ากราบตีนมหาโจร ที่หนีคำพิพากษาศาลไปอยู่ในต่างแดนโน่น ถึงจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นใหญ่ในวงการตำรวจ

      
       
ทั้งๆ ที่ตำรวจชั่วแบบนั้น ประชาชนชุบเลี้ยงต่อไปก็เปลืองข้าวสุก เพราะได้กลายเป็นงูเห่าแว้งกัดประชาชนคนดีอยู่ในขณะนี้
      
       
สังคมใด..หากมีตำรวจเห็นกงจักรเป็นดอกบัวขึ้นเป็นใหญ่ สังคมจะไร้ขื่อแปและสูญสิ้นความยุติธรรมเบื้องต้นไปโดยปริยาย
      
       
ตำรวจชั่วจะให้ความยุติธรรมใครได้อีกล่ะ? เป็นตำรวจแต่กลับไปกราบตีนนักโทษหนีคุก เป็นตำรวจแต่กลับนับถือนักโทษอาญาเหนือสิ่งอื่นใด จนมองไม่เห็นความผิดของนักโทษที่ถูกศาลตัดสินให้ต้องจำคุก 2 ปี และหนีหมายศาลอีกหลายคดี
      
       
ที่สำคัญ..เป็นตำรวจชั่วที่บังอาจทำตัวเหนืออำนาจศาล!
      
       
ตำรวจที่จงใจให้ผู้ร้ายติดยศเพื่อเป็นสิริมงคล จากยศที่ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะนักโทษชายหน้าเหลี่ยมคนนี้ เป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้ายที่สนับสนุนขบวนการแดงล้มเจ้าอีกด้วย!
      
       
ที่น่าเจ็บใจ คือ ตำรวจชั่วๆ พวกนี้ไม่ได้กินเงินเดือนของมหาโจร แต่กินเงินเดือนจากภาษีคนไทยทั้งชาติ ทว่า..แทนที่จะทำงานรับใช้ประชาชนอย่างซื่อสัตย์ กลับดันไปรับใช้ มหาโจรเหลี่ยมและพวกแดงเผาบ้านเผาเมือง-ก่อการร้าย ฆ่าทหารและประชาชนหน้าตาเฉย
      
       
แน่นอน..รัฐบาลที่มหาโจรเหลี่ยมบงการ ซึ่งมีนายกฯ สมองกลวงและรองนายกฯ หรือครม. “White Lies” ไม่มีวันจะอยู่ค้ำฟ้า การที่ตำรวจชั่วบางคนท้าท้ายอย่างอหังการทำนองว่า
      
       
หากเปลี่ยนรัฐบาล..ไม่ต้องไล่..กูออกเอง!
      
       
ตำรวจที่ไม่ยอมจับผู้ร้าย-กลับไปรับใช้ผู้ร้าย แถมให้ผู้ร้ายติดยศบนบ่า แล้วเอารูปมาติดโชว์หราน่ะ..มันผิดกฎหมาย (โว้ย) จึงมิใช่แค่ลาออก..แต่ต้องติดคุกด้วย (ว่ะ)!
      
       
เพราะผิดทั้งวินัยร้ายแรงและผิดกฎหมายหลายฉบับ อีกทั้งยังผิดกฎหมายมาตรา157 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่กลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำชั่วช้าสามานย์แบบนั้น จึงสิ้นสุดความเป็นตำรวจของประชาชนแล้ว เพราะได้กลายเป็นตำรวจส่วนตัวของมหาโจรเหลี่ยมเต็มตัวแล้วครับ!
      
       
ดังนั้น อย่าเสียเวลาไปถกเหตุผลถูก-ผิด-ควร-ไม่ควร หรือเรียกหาความยุติธรรมจากตำรวจชั่วพวกนี้อีกต่อไป วันนี้..ข้าราชการใหญ่กลุ่มหนึ่งที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำของชาติไทย ได้สูญสิ้นมโนสำนึกอันดีงาม ยอมตนเป็นขี้ข้าของมหาโจรการเมืองหน้าเหลี่ยมไปเสียแล้ว
      
       
ความยุติธรรมจึงถูกรุมฆ่าจนแทบจะสูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย!
      
       
ก็ขนาดแดงเผาบ้านเผาเมืองเผาศาลากลาง ฆ่าทหารและผู้คนเป็นข่าวภาพฉาวไปทั้งโลกแท้ๆ คนชั่วในกระบวนการยุติธรรมไทยบางคน ยังกำลังจะทำให้คนผิดกลายเป็นคนถูก ยังทำให้ทหารที่เสียชีวิตจนต้องจากพ่อแม่พี่น้องลูกเมียก่อนวัยอันควร เพื่อนำความสงบกลับคืนมาสู่สังคมไทยอีกครั้ง กำลังโดนยัดข้อหาให้กลายเป็นฆาตกรอย่างอธรรมที่สุด
      
       
ภัยอันตรายต่อความมั่นคงของชาติไทยวันนี้ ที่แท้คือ..ชาติไทยมีมหาโจรครองเมือง แถมยังมีตำรวจชั่วบางกลุ่มเป็นโจร ข้าราชการใหญ่กลุ่มหนึ่งเป็นขี้ข้ารับใช้กลุ่มมหาโจรการเมืองชั่วทำร้ายชาติบ้านเมืองครับ
      
       
ตำรวจชั่วนั้น จะมีอำนาจอยู่ในมือตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจะใช้ข้อหาเท็จ-หลักฐานเท็จ-ใช้กฎหมายอธรรม ยัดเยียดความผิดอันจอมปลอมให้ใครก็ได้ แถมยังมีอาวุธปืนที่พร้อมจะใช้เป็นศาลเตี้ย เพื่อวิสามัญชีวิตใครก็ได้ในใต้หล้า ฯลฯ
      
       
มหาโจรหน้าเหลี่ยมจึงพยายามที่จะสร้างรัฐตำรวจชั่วขึ้นบนแผ่นดินไทย เพื่อหวังจะใช้ตำรวจเป็นอีกกองกำลังหนึ่ง ไว้ทำลายอริทางการเมืองและรับใช้พวกตนครับ
      
       
อลัชชี-เป็นคนชั่วที่ใส่ผ้าเหลืองหลอกผู้คนว่า-เป็นพระเมื่อใดที่ชาวพุทธรู้..อลัชชีชั่วมักถูกประชาทัณฑ์ หรือถูกกฎหมายลงโทษฉันใด ตำรวจชั่ว-ก็มิได้ต่างไปจากอลัชชีฉันนั้น
      
       
แค่คนชั่วมาสวมใส่เครื่องแบบสีกากี แล้วใช้อำนาจอธรรม-ข่มขู่-คุกคามประชาชนไปวันๆ พฤติกรรมชั่วที่มิใช่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่แท้จริง จึงปรากฏจากกมลสันดานมาให้ผู้คนได้รู้ได้เห็นอย่างเปิดเผย จนทำให้ตำรวจส่วนใหญ่ที่ดีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงไปด้วย และแน่นอน..ทำให้ประชาชนก่นด่าขับไล่ สุดท้าย..ก็หนีไม่พ้นคุกตะราง..
      
       
นั่นยังไม่รวมการทำชั่วต่อแผ่นดินไทยอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเวรกรรมมหันต์จะต้องตามสนองในบั้นปลายอีกด้วยครับ!
      
       
เฮ้อ..เมื่อน้องชั่วๆ ทั้งหลาย-กล้าทำชั่วให้พี่ น้องจึงมีวันนี้..เพราะพี่ให้ไงล่ะ ยุคมหาโจรหน้าเหลี่ยมครองเมืองน่ะ..ใครทำชั่วได้ดี-ใครทำดีได้ชั่ว..โว้ย..ฮ่าฮ่าฮ่า...

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

บทความไทยโพสต์

ทุจริตสำแดงมาแรงกว่าที่คาด
  • 10 กันยายน 2555
พรรคเพื่อไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายกับปมคอร์รัปชัน ที่มีการพาดพิงมายังคนในรัฐบาลและการดำเนินนโยบายบางโครงการ
สาหัสที่สุดคือ โครงการรับจำนำข้าว ที่ภาคเอกชน นักวิชาการตั้งวงชำแหละว่าเป็นโครงการมหาคอร์รัปชัน เปิดช่องให้โกงกินทุกขั้นตอน คาดกันว่าจนถึงขณะนี้มีเม็ดเงินรั่วไหลไปแล้วนับแสนล้านบาท
และยังไม่เห็นทางออกว่า พรรคเพื่อไทยจะหยุดวงจรคอร์รัปชันในโครงการจำนำข้าวอย่างไร!
อีกซีก ภาคเอกชน โดยภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ ยังคงเดินหน้ารณรงค์ต่อเนื่อง พุ่งเป้าไปที่โครงการจำนำข้าว โครงการจัดการน้ำ และโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีเม็ดเงินสูง ซึ่งมีข้อมูลยืนยันว่านักธุรกิจถูกเรียกเก็บเงินค่าหัวคิวใต้โต๊ะสูงกว่า 25%
ประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีฯ ระบุว่า รัฐบาลสอบตกการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน กลับปล่อยให้ระบาดหนักขึ้น โดยปี 2554 ดัชนีคอร์รัปชันของไทยอยู่อันดับที่ 80 สูงขึ้นจากลำดับที่ 78 ใน 183 ประเทศทั่วโลกที่มีปัญหาคอร์รัปชัน
สอดคล้องกับผลสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่พบว่า สถานการณ์คอร์รัปชันเดือน มิ.ย. 2555 ทวีความรุนแรงขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นต่ำลงมาอยู่ที่ 3.5 คะแนน จากเต็ม 10 และเชื่อว่าปี 2556 ปัญหาคอร์รัปชันจะเกิดมากขึ้นจากงบ3.5 แสนล้านบาท จากโครงการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ
ขณะเดียวกัน ตัวละครที่ปรากฏในข่าวคอร์รัปชันแบบมาแรงแซงทางโค้ง ณ เวลานี้ต้องยกให้ นักการเมือง ด. ในรัฐบาล หลังถูกระบุเกี่ยวข้องกับความไม่โปร่งใส เรียกรับผลประโยชน์การประมูลงานหลายโครงการ
ที่มาแรกเริ่มจากฝ่ายค้าน พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล สส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแฉระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2556 วงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท ว่ามีคนดังของฝ่ายรัฐบาลเข้ามาครอบงำการพิจารณางบ
ตามด้วย ศุภชัย ใจสมุทร สส.พรรคภูมิใจไทย ขยายแผลซ้ำในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ วาระ 2-3 ว่ามีนักการเมืองดังใกล้ชิดกับรัฐมนตรี ดึงเงินจากกระทรวงมาลงพื้นที่ของตัวเอง และยังครอบงำ คณะกรรมาธิการงบประมาณทั้งคณะ
กระทั่งการโยกย้ายฟ้าผ่า พ.ต.อ.ดุษฎีอารยวุฒิ พ้นจาก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ก็ถูกโยงว่าเพราะนักการเมือง ด.ไม่พอใจที่ พ.ต.อ.ดุษฎี เข้าไปตรวจสอบคดีหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้ารถหรู ซึ่งกระทบคนใกล้ชิด
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการแฉว่า เป็นเพราะมือปราบโกงผู้นี้ไปตรวจสอบโครงการฟื้นฟู ป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วม ซึ่งมีงบสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท โดยพบว่าในพื้นที่ 6 จังหวัด ภาคอีสาน ภาคเหนือ ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย โครงการฟื้นฟูก่อสร้างแหล่งน้ำ ซ่อมแซมถนนลาดยาง ถนนลูกรัง หลายร้อยโครงการที่ถูกตรวจสอบล้วนโกงกินไม่มีเหลือ ท่ามกลางกระแสข่าวว่ามีการชักหัวคิวการประมูลงานผ่านกลุ่มก๊วนในพื้นที่ส่งถึงนักการเมืองคนดัง

แม้แต่การโยกย้ายแต่งตั้งบิ๊กข้าราชการในฤดูโยกย้ายหลายกระทรวง วงในสะพัดว่าต้องวิ่งผ่าน บิ๊ก ด.ที่คุมอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่
อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยออกมาปฏิเสธว่า ไม่ทราบว่านักการเมือง ด.คือใครในรัฐบาล และท้าให้ยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบ
ประเด็นการทุจริตที่เป็นมรสุมกระหน่ำรัฐบาลเพื่อไทยอยู่เวลานี้ และการพุ่งเป้าไปที่ ด.คาดว่าจะเป็นหัวเชื้อให้ฝ่ายค้านต่อภาพให้เห็นถึงวงจรคอร์รัปชันภายในรัฐบาล ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งฝ่ายค้านต้องยื่นหลักฐานและคำร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ถอดถอนนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายด้วยข้อหาทุจริต
นี่เป็นศึกหนักของพรรคเพื่อไทย...
เพราะไม่ใช่แค่ฝ่ายค้านที่ตรวจสอบการคอร์รัปชันเพียงลำพัง ซึ่งรัฐบาลอาจโต้ได้ว่าเป็นเกมการเมืองต้องการทำลายความเชื่อถือ หากแต่สถาบันทีดีอาร์ไอ นักวิชาการ พลังจากภาคเอกชน ต่างจับตาการคอร์รัปชันภาครัฐทุกฝีก้าว
ที่สำคัญ กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลเองเป็นตัวการสนับสนุนการคอร์รัปชัน เมื่อกลไกของรัฐคือ เลขาธิการ ป.ป.ท. ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคอร์รัปชันโดยตรงและเริ่มมีผลงานปรากฏ กลับถูกรัฐบาลสั่งย้ายเข้ากรุ
สิ่งที่รัฐบาลทำให้เห็น มีเพียงเรื่องเดียว คือ การจัดงานพิธีกรรมต่อต้านการคอร์รัปชันและคำพูดที่สวยหรู
ทั้งที่รัฐบาลยืนยันหนักแน่นว่าจะปราบปรามการคอร์รัปชันอย่างจริงจัง
และเป็น 1 ใน 16 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2554 ช่วงเข้ารับตำแหน่ง โดยเขียนนโยบายปราบปรามการคอร์รัปชันเป็นลำดับที่สาม รองจากการแก้ปัญหายาเสพติด การสร้างความปรองดอง
สำทับอีกครั้ง จากคำกล่าวของนายกฯยิ่งลักษณ์ ล่าสุดที่มาเปิดงาน “Stop Corruption : รวมพลเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่นร่วมกับภาคเอกชน เมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยยังคงยืนยันเจตนารมณ์เดิมที่ต้องการหยุดคอร์รัปชัน
เราต้องรวมพลังกันแก้ปัญหานี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศไทย เพราะการที่ต่างประเทศจะตัดสินใจมาลงทุนจะดูความโปร่งใสในการทำธุรกิจที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ว่าไปแล้ว รัฐบาลเพื่อไทยมีบทเรียนจากปัญหาคอร์รัปชันในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่หลายคนยังติดบ่วงคดีคอร์รัปชันในชั้นศาลอยู่
บทเรียนดังกล่าว ทำให้แกนนำพรรคเพื่อไทยต่างเห็นตรงว่า ถึงแม้พรรคเพื่อไทยจะมีชัยชนะล้นหลามและมีโอกาสอยู่ยาว ทว่าปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลจะเสื่อมศรัทธา หนึ่งในนั้นคือ
ปัญหาคอร์รัปชัน ...
นักการเมืองเชี่ยวกรากอย่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ระบุว่า เงื่อนไขที่จะทำให้รัฐบาลเพื่อไทยอยู่อย่างมั่นคง ต้องทำ 3 เรื่อง 1.แก้ปัญหายาเสพติดได้ 2.แก้ปัญหาความยากจนได้ และ3.กำจัดคอร์รัปชัน โดยเฉพาะรัฐบาลต้องไม่มีเรื่องคอร์รัปชันเป็นอันขาด ถ้าครบ 3 อย่าง ใครทำอะไรรัฐบาลไม่ได้
แกนนำขบวนการเสื้อแดง จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) วิเคราะห์เช่นกันว่า รัฐบาลต้องไม่ปราบปรามประชาชนและต้องไม่คอร์รัปชัน
วันนี้คนในพรรคเพื่อไทยต่างยอมรับว่าปัญหาคอร์รัปชันสำแดงเร็วกว่าที่คาดและกระเทือนกับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลแน่นอน