วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความมติชน

ประธาน วุฒิสภา มิติ แนวโน้ม สำคัญ ของ การเมืองไทย
ทั้งๆ ที่การเลือกตั้งประธานวุฒิสภาคนใหม่เพื่อแทน พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ซึ่งต้องหลุดจากตำแหน่งไปมีความสำคัญเป็นอย่างสูง

แต่การเคลื่อนไหวเพื่อชิงตำแหน่งนี้ค่อนข้างเงียบ

แม้จะมีรายชื่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะเต็ง 1 แต่ก็แทบไม่มีหลักประกันอันใดให้มั่นใจ

เหตุเพราะ นายนิคม ไวยรัชพานิช เป็น ส.ว.เลือกตั้ง

หากคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในหมวดว่าด้วยวุฒิสภาก็จะประจักษ์ว่าน้ำหนักโน้มไปทาง ส.ว.สรรหามากกว่า

ส.ว.เลือกตั้งดำเนินไปอย่างกระจัด กระจาย 76 จังหวัด

ขณะที่ ส.ว.สรรหาดำเนินไปอย่างเป็น กลุ่มก้อนจากคณะกรรมการสรรหาที่แบ่งสรรปันผลประโยชน์กันและกัน

จึงมีความเป็นเอกภาพมากกว่าที่มาจากการเลือกตั้ง

หากประเมินจากประธานวุฒิสภาคนที่ 1 นายประสพสุข บุญเดช ก็มาจากสายสรรหาประธานวุฒิสภาคนที่ 2 พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ก็มาจากสายสรรหา

สรรหามาแรง



กระนั้น หากดูจากสถานการณ์โดยรวมก็ไม่แน่ว่ากลุ่มการเมือง ซึ่งเคยร่วมกันสร้างสถานการณ์จนนำไปสู่รัฐประหารเดือนกันยายน 2549 จะยังเป็นเอกภาพ แน่นเหนียวอยู่หรือไม่

เห็นได้จากการแตกแถวออกมาของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

เห็นได้จากการขัดแย้ง แตกแยก ต่างคนต่างเดินระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ส่งผลสะเทือนไปยัง ส.ว.อย่างเลี่ยง ไม่พ้น

เห็นได้จากความสามารถของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการต่อสายไปยังข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกุมอย่างเบ็ดเสร็จในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

โดยเฉพาะสัมพันธ์อันดีวันดีคืนต่อ ผบ.เหล่าทัพ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และแม้กระทั่งกองทัพอากาศ

ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งไปยัง ส.ว. อย่างเลี่ยงไม่พ้น

ตามปกติการเคลื่อนไหวของ ส.ว.ที่อึกทึกครึกโครมอย่างยิ่งมักจะมาจากกลุ่ม 40 ส.ว.แต่ต่อสถานการณ์ปัจจุบันกลับเงียบอย่างผิดปกติ นี่ย่อมเป็นผลจากความขัดแย้ง แตกแยกระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรอย่างมีนัยสำคัญ

อ่านเกมยาก



หากประเมินจากการประลองกำลังระหว่างขบวนการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 กับ พรรคเพื่อไทย ผ่านเวทีศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมองเห็นเบาะแสบางอย่างทางการเมือง

สถานการณ์ไม่เหมือนกับเมื่อเดือนกันยายน และเดือนธันวาคม 2551

แม้ว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพันธ มิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องการให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกเชือดเหมือนกับที่ นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ถูกเชือดมาแล้วอย่างเลือดเย็น

แต่สถานการณ์ในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555 กลับไม่เป็นอย่างนั้น

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย พร้อมกับพันธมิตรอย่าง พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล เยือกเย็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ รอบคอบเพิ่มขึ้นในการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

เป็นผลให้พรรคประชาธิปัตย์ทำอะไรไม่ถูก เป็นผลให้เกิดภาวะชะงักงันภายในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เช่นเดียวกับ กรณีการประลองกำลังกันภายในสมาชิกวุฒิสภา

แม้มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูงว่าความเป็นกลุ่มก้อนของ ส.ว.สรรหายังดำรงอยู่ กระนั้นคำถามยังอยู่ที่ว่าพวกเขาจะเลือกใครให้ขึ้นมายืนอยู่หัวขบวน

คนของใคร



การเลือกตั้งประธานุวุฒิสภาในวันที่ 14 สิงหาคม จึงทรงผลสะเทือนเป็นอย่างสูงทางการเมือง

ตัวบุคคลที่จะมาแทน พล.อ.ธีรเดช มีเพียร จะเป็นหลักไมล์อันสะท้อนภาพทาง การเมืองว่ากำลังจะดำเนินไปในทิศทางใด ประนีประนอมหรือว่าเดินหน้าแตกหักเข่นฆ่ากันสถานเดี
ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น