วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทวิเคราะห์ไทยโพส์


'มหากาพย์แห่งข้าว ณ ยุค

ตั้งแต่มีประเทศไทยมา ไม่มีนโยบายไหนกินประเทศไทย "ถึงเนื้อ-ถึงกระดูก" เท่านโยบาย "รับจำนำข้าวทุกเมล็ด" เกวียนละ ๑๕,๐๐๐ ของรัฐบาลระบอบทักษิณ เพราะนโยบายนี้เท่ากับ "ฉีดสารเสพติด" เข้าเส้นเลือดชาวนา แล้ว "ล้มระบบ" ตลาดค้าข้าวเสรีเป็นระบบ "ผูกขาดโดยรัฐ" สมบูรณ์แบบ ผลที่ปรากฏ ถึง ณ วันนี้ ข้าวไทย นอกจากสิ้นสภาพการนำ "ทุกด้าน" ในตลาดโลกแล้ว วงจรชีวิตชาวนายังถูกควบคุม-จองจำด้วย "ระบอบทักษิณกินรวบ" เบ็ดเสร็จ!
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่รัฐบาลยึดเป็นแหล่งเงินนอกระบบทำประชานิยมด้วยมอมเมารากหญ้า-ชาวไร่-ชาวนาอันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ...จงระวัง
จะเป็นรายที่ ๓ ต่อจากแบงก์อิสลาม และเอสเอ็มอีแบงก์!
ในขณะที่แบงก์พาณิชย์ต่างร่ำรวยในภาวะ "เงินนอกไหลท่วม" ด้วยตื่นวิถีบูรพา ผ่านประชาคมอาเซียน ทั้งเงินทุนไหลเข้า และทั้งกองทุนแสวงหากำไรจากส่วนต่าง ในยามยุโรป-สหรัฐ-ญี่ปุ่น ยังโงหัวไม่ขึ้น...แต่แบงก์รัฐ
คือ ธ.ก.ส.กลับตูดแหกสวนกระแส!?
ผู้บริหารต่างหัวหด กลัวถูกปลดมากกว่ากลัวแบงก์ฉิบหาย รัฐบาลสั่งอะไรเป็น ได้ครับ..มีครับ..เหลือเฟือครับ...ที่ว่าเหลือเฟือนั้น เห็นจะเป็นตัวเลขหนี้ที่กุลี-กุจอสนองนโยบายประชานิยม จ่ายซื้อนิยมให้รัฐบาลไปก่อนร่วม ๓ แสนล้านแล้วมั้ง?
แล้วนี่ ต้นปี ๕๖ ต้องรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ อีกแล้ว ธ.ก.ส.ที่เคยมีสภาพคล่องร่วม ๒ แสนล้าน ตอนนี้เหลือติดแบงก์กี่หมื่นล้านล่ะ!
ไอ้ที่หวังว่ากระทรวงพาณิชย์จะเอาเงินขายข้าวจีทูเจ๊มาคืนตามจำนวนน่ะ ก็หวังไปเถอะ แต่จะเป็น "ไอ้หวังตายแน่" ซะมากกว่า
หมายความว่า ไม่ต้องไปหวังจะได้เงินขายข้าวคืนช้า-คืนเร็วจากกระทรวงพาณิชย์ โน่นแน่ะ..ให้ ธ.ก.ส.ไปหวังลุ้นเอาจาก "สยามอินดิก้า" บริษัทค้าข้าวส่งออกขวัญใจเจ๊ "คู่เวร-คู่กรรม" กระทรวงพาณิชย์เค้าโน่น
เพราะ G to G ของกระทรวงพาณิชย์ยุค เจ๊ทูเจี๊ยะ G แรกไม่ได้หมายถึงรัฐบาลผู้ขาย แต่หมายถึงกระทรวงพาณิชย์ ส่วน G หลังไม่ได้หมายถึงรัฐบาลผู้ซื้อ แต่หมายถึงสยามอินดิก้าผู้ซื้อ
ฉะนั้น G to G ก็คือพาณิชย์ขายข้าวให้สยามอินดิก้า ส่วนสยามอินดิก้า ค้าขายยังไงก็ไม่ขาดทุน จะส่งออกเองหรือจะเล่นแร่แปรธาตุอยู่ภายใน ให้ผู้ส่งออกรายอื่นรับเหมาจัดส่งแทน ก็ยังได้ มีแต่กำไรมาก-กำไรน้อย เพราะไม่ต้องลงทุนเอง
เพราะใช้ข้าวใน "สต็อกรัฐบาล"!
ฉะนั้น ถ้าสยามอินดิก้า หาข้าวคุณภาพดี ไม่เก่าเก็บจนเหลืองได้ตามสเปกลูกค้าไว ธ.ก.ส.ก็อาจได้เงินคืนจากพาณิชย์ไว ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น....ก็คุยกันไปเรื่อยๆ แล้วจะรู้!
ตอนนี้ ผู้บริหาร ธ.ก.ส.หน้ามืดอาจถึงขั้นเอาตีนก่ายหน้าผากแล้วก็ได้ จะไม่ก่ายไงไหว ถึงขั้นต้องนำเงินสำรองสภาพคล่องมาใช้แล้ว ซ้ำคลังก็ไม่ค้ำประกันให้อีก ถ้าจำไม่ผิด เมื่อสัปดาห์ก่อน นางนายกฯ เดินแผนตามนโยบายกินรวบของพรรคสำเร็จไปอีกแห่งแล้วมิใช่หรือ?
นั่นคือ "ยึดบอร์ด-ยึดงบ-เปลี่ยนหัว" ในทุกระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ แล้วเอาคนระบอบ "แดงทั้งแผ่นดิน" แทรกซึมเข้าไปยึดพื้นที่
เพื่อสะดวกใช้เงิน-ใช้แผนตามนโยบาย เป่านกหวีด-ดีเดย์วันไหน "ทุกยูนิต" ของประเทศไทย พรึ่บ...พร้อม ตกอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบทักษิณ "แดงทั้งแผ่นดิน" เรียบร้อยหมดแล้ว!
ครม.ยิ่งลักษณ์ตั้งบอร์ด ธ.ก.ส.ใหม่อีก ๑๓ คน ในจำนวนนั้นยัดคน "ระบอบทักษิณ" เข้าไปไว้ ๖ คน ก็มี นายยรรยง พวงราช อดีตปลัดพาณิชย์ นายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทนายคนเสื้อแดง นายธนรัชต์ วิเชียรรัตน์ อดีตที่ปรึกษา รมต.เพื่อไทย นายวศิน ธีรเวชญาณ ซี้ทักษิณ อดีตที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงต่างประเทศ นายวิรัตน์ ศักดิ์จิรพาพงษ์ ส.ส.สอบตกสมัยไทยรักไทย และนายทวีป ตันพิพัฒนกุล ที่ปรึกษา ส.ส.เพื่อไทย
ก็เอากันให้สนุก ถึงที..ไม่เอา แล้วจะไปเอากันตอนไหน...จริงมั้ย เมื่อวาน (๒๕ ก.พ.๕๖) ผมอ่านข่าวเรื่องข้าว-เรื่องค้าแล้วขำ กรุงเทพธุรกิจเขาลงข่าวว่า....
"
รายงานจากกรมการค้าต่างประเทศแจ้งว่า ขณะนี้ได้ทำสัญญาขายข้าวในส่วนของข้าวจากโครงการรับจำนำก่อนหน้านี้ และโครงการใหม่แบบรัฐต่อรัฐหมดแล้ว แต่ไม่เปิดเผยปริมาณและราคาที่ขาย หากการระบายเป็นไปตามแผนก็จะทำให้โครงการรับจำนำนาปรังที่จะเกิดขึ้น ยังมีพื้นที่เก็บข้าวได้เพียงพอ"
"
ขายแบบรัฐต่อรัฐหมดแล้ว" กรมการค้าต่างประเทศเขาว่างั้น ผมอ่านแล้วอยากขำกลิ้ง แต่ขำไม่ออก เพราะใจคับแค้น ด้วยไอ้-อีข้าราชการ สมคบระบบโจรปล้นแผ่นดิน ด้วยสิ้นสำนึก
เอาที่ไหนมาลอยหน้าตอแหลว่า "ขาย G to G หมดแล้ว" ขอถามคนทั้งประเทศว่า มีใครเคยผ่านหู-ผ่านตาในรอบปีบ้างว่า กระทรวงพาณิชย์เปิดให้บริษัทค้าข้าวมาประมูลซื้อข้าวกันบ้าง?
ก็มีพอเป็นพิธีอยู่ครั้ง แต่ไม่เป็นมรรค-เป็นผลอะไร นั่นก็เอาเถอะ แล้วผมขอถามใหม่ว่า เคยมีข่าวปรากฏเป็นทางการที่ไหนบ้างว่า สยามอินดิก้าเคยเข้าประมูลซื้อข้าว หรือตกลงซื้อข้าวกับกระทรวงพาณิชย์?
ไม่มีเลย...!
แต่ปรากฏว่า พาณิชย์ยุค เจ๊ทูเจี๊ยะ สถิติส่งออกตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ จนถึงปัจจุบัน สยามอินดิก้า ผงาดติดอันดับ ๕ เสือส่งออกข้าว โดยอยู่อันดับ ๓ ด้วยยอดส่งออก ๖.๘๗ แสนตัน
คำถามที่รัฐมนตรีบุญทรงควรตอบก็คือ แล้วสยามอินดิก้าเอาข้าวจากที่ไหนส่งออก ในเมื่อข้าวทุกเม็ดถูกรัฐบาลกวาดเก็บในโกดังแต่ผู้เดียว?
เขานินทากันแซดทั้งวงการ ที่พาณิชย์คุยว่า ได้เงินขายข้าวจีทูจีคืน ธ.ก.ส.ที่แท้ก็เงินส่วนที่สยามอินดิก้าเอาข้าวในสต็อกรัฐบาลไปส่งออกบ้าง ขายภายในบ้าง ขายให้ผู้ส่งออกบางรายบ้าง แล้วสยามอินดิก้าก็เอาเงินค่าข้าวไปให้
ให้ครบ-ให้เต็มขนาดไหน อยากรู้ก็ไปถามเค้าเอง!
ด้วยตรรกะนี้ สภาพคล่อง ธ.ก.ส.วันนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเงินกระทรวงพาณิชย์ได้คืน และเงินได้คืนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสยามอินดิก้า มีความสามารถส่งออกได้คล่องขนาดไหน
สาม-สี่วันมานี้ ได้ยินพาณิชย์คุย ขายจีทูจีให้แอฟริกาบ้าง ให้อิรักบ้าง ผมในฐานะพ่อค้าส่งออกข้าวตากที่เหลือก้นบาตรพระในอดีต ยังพอมีพวกที่เคยค้าขายด้วยกันอยู่ จึงได้แลกเปลี่ยนข่าวสารกันเป็นระยะ จึงทราบว่า
G
แรกคือพาณิชย์ G หลังคือสยามอินดิก้า นั่นละก็...ใช่!
G-
สยามอินดิก้า ทำสัญญาขายให้ผู้ซื้อในแอฟริกาและอิรักผ่านคนกลางที่สิงคโปร์น่ะ ขายข้าว ๕% ให้อิรักราวๆ ๓ แสนตัน ราคาเท่าไหร่ทราบมั้ย ทราบแล้วจะเป็นลม
เท่าราคาข้าวเขมร...ตันละ ๔๘๕ เหรียญ!
ยังไม่ต้องบวกต้นทุน เอาแค่ที่รับจำนำเพียวๆ ก็ขาดทุนแล้ว ถามว่า...แล้วขายได้ไง คำตอบก็คือ สยามอินดิก้าไม่มีต้นทุน เพราะเลือกเอาข้าวตามโกดังต่างๆ ของรัฐได้ตามใจชอบนั่นไง เพราะเหตุนั้น การขายข้าวของพาณิชย์ทุกวันนี้ ทั้งจำนวน ทั้งราคา ทั้งผู้ซื้อ
จึงเป็น "ความลับสูงสุด" ทางราชการ!?
ข้าวที่ขายล็อตนี้ ที่จริงผู้ส่งออกรายอื่นทำสัญญาขายไว้ประมาณตันละ ๕๘๐ เหรียญ ขนาดนั้นยังขาดทุน แต่ปัญหาที่ผู้ส่งออกส่งให้เขาไม่ได้ก็เพราะ หาซื้อข้าวไม่ได้ ที่พอจะได้ ราคาสูงจนสู้ไม่ไหว
แต่ขณะนี้ สยามอินดิก้าก็ปวดหัว เพราะหาข้าวตามที่ลูกค้ากำหนดเป็นตัวอย่างได้ยาก ที่อัดแน่นตามโกดังนั้น ข้าวดี-ข้าวใหม่ก็ส่งออกไปหมดแล้ว ที่เหลืออยู่ก็เม็ดข้าวเสีย เม็ดข้าวเหลือง เป็นข้าวเก่าเก็บ
มีทางเดียวที่พาณิชย์จะช่วยได้ คือเร่งให้โรงสีที่รับฝาก รีบเอาข้าวจำนำใหม่มาสี มาแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร เพื่อส่งมอบให้สยามอินดิก้าส่งมอบลูกค้าไวๆ
นอกจากให้ทันตามกำหนดแล้ว พาณิชย์ก็จะได้เงินรีบเอาไปทยอยคืน ธ.ก.ส.ด้วย ไม่งั้น โครงการรับจำนำรอบใหม่ ผู้จัดการต้องขายทั้งหัว-ขายทั้งตัว เพื่ฤอเอาเงินมาหมุนรอบ!
ที่กรมการค้าต่างประเทศโม้ว่า ข้าวใหม่-ข้าวเก่าระบายไปหมดแล้ว โกดังมีพื้นที่เหลือเก็บข้าวนาปรังรอบใหม่นั่นน่ะ เคยออกไปดูบ้างหรือเปล่า ผมเห็นแต่ยัดใส่ รมยาฆ่านก-ฆ่าหนู แล้วลั่นกุญแจ ๓ ดอก "ปิดตาย" อีกทั้งไม่ได้ยินว่าเปิดประมูลขาย
แล้วคุยว่า "ขายรัฐต่อรัฐ" หมดแล้ว...น่าละอาย?
ตามโกดังรัฐบาลตอนนี้ ข้าวรอเวลาเน่าไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านตัน ผมไปสำรวจมาแล้วกะตา ตอนนี้ต้องใช้นโยบายให้โรงสีที่รับฝากเอาข้าวไปขายได้ในราคาตามสภาพข้าว เพื่ออะไรล่ะ...เพื่อหมุนเงินไปคืน ธ.ก.ส.ก่อนที่จะตายไปด้วยกันน่ะซี
วันนี้ ต้องขอจบด้วยวาทะแห่งชาติของ "กำนันทรง องค์ชัยวัฒนะ" แห่งพยุหะคีรี นครสวรรค์ ผู้ก่อตั้งตลาดกลางค้าข้าวแห่งประเทศไทย ซึ่งท่านกล่าวไว้ว่า.........
"
รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์จะซื้อเกวียนละ ๒ หมื่น หรือ ๓ หมื่นก็ได้ เพราะไม่ใช่เงินคุณยิ่งลักษณ์ มันเป็นเงินภาษีอากรของประชาชน และแกก็ชาญฉลาดมาก รัฐบาลนี้เอาเงินภาษีอากรมาซื้อใจประชาชน จะให้ ๑ หมื่น ๕ หรือ ๒ หมื่นบาท หรือ ๓ หมื่นบาทก็ได้ ชาวนาก็ชอบ พอขายรัฐบาลก็ชอบ แต่พอขายข้าวขาดทุนก็เป็นเรื่องของคน ๖๐ กว่าล้านคนที่ต้องรับผิดชอบ ผมมองดูแล้วมันไม่มีความเป็นธรรมในคน ๖๐ กว่าล้านคน".


วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สามัญชนต้ำเตี้ย

สูงสุดที่ 'สามัญชนต่ำเตี้ย' รอคำตอบ

  ประเทศไทย มีข้าราชการ "สูงสุด" อยู่ ๒ คน คนหนึ่ง "ผู้บัญชาการทหารสูงสุด" และอีกคน "อัยการสูงสุด" ในรอบสัปดาห์ มีเรื่องทำให้สังคมเกิดคำถามกับกระบวนการอัยการขึ้นว่า "เบื้องหลังความยุติธรรมคือความไม่ยุติธรรม" และ "ความอิสระของอัยการ" คือการทำอย่างใดก็ได้ โดยไม่แคร์ว่าจะมีใครตรวจสอบได้ อย่างนั้นหรือเปล่า?
   
นี่คือคำถาม และผู้ที่เป็น "อัยการสูงสุด" ขณะนี้ชื่อ "นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์" ควรอธิบายเป็นคำตอบให้สังคมได้เข้าใจ ก่อนที่หน่วยงานอิสระอันเป็น "ต้นน้ำ" กระบวนการยุติธรรมจะ "เสื่อม" ศรัทธาและความเชื่อถือไปจากสังคม เหมือนตำรวจ และ DSI ที่ "เสื่อม" อยู่ขณะนี้
   
เหตุก็จากเรื่องที่ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม จำเลยคดีการหายตัวไปของนายอัลรูไวลี ได้กล่าวหาอัยการและดีเอสไอว่า ร่วมกันนำพยานที่ปรักปรำเขา คือ "พ.ต.ท.สุวิชชัย แก้วผลึก" หนีออกนอกประเทศไปซุกไว้ที่ดูไบ
   
เหตุที่ พล.ต.ท.สมคิดใช้คำว่า "พาพยานหนี" เพราะ พ.ต.ท.สุวิชชัยเป็นผู้ต้องหาหนีหมายจับตามคำพิพากษาศาลมีนบุรีที่ให้จำคุกตลอดชีวิต ในคดีฆ่าเชื้อพระวงศ์ลาว
   
เพราะความที่อัยการ-ดีเอสไอ ต้องการใช้ พ.ต.ท.สุวิชชัยเป็น "พยานเอก" ในการรื้อฟื้นคดีใหม่ ตามคำสั่งรัฐบาลทักษิณ แทนที่เจอตัวแล้วจะจับเข้าคุกตามหน้าที่ ซึ่งนั่นก็ยังสามารถเบิกตัวมาเป็นพยานได้   
   
แต่อัยการ-ดีเอสไอ กลับเลือกใช้วิธีตามที่ พล.ต.ท.สมคิดกล่าวหา ร่วมกับกระทรวงต่างประเทศออกพาสปอร์ตให้ อัยการซื้อตั๋วเครื่องบินให้ และดีเอสไอเป็นฝ่ายพา พ.ต.ท.สุวิชชัย ซึ่งเป็นอาชญากรหนีหมายจับ ออกนอกประเทศทางสนามบินสุวรรณภูมิ มุ่งดูไบ
    "
ด้วยวิธีพิเศษ"!?
    "
วิธีพิเศษ" คือไม่ผ่านด่าน ตม.ตามปกติ ส่วนจะประทับตราขาออกในพาสปอร์ตให้กันด้วยวิธีไม่ปกติด้วยหรือไม่ คงไม่ต้องอธิบาย ถ้าออกตามปกติ คงไม่ได้ออก เพราะเจ้าหน้าที่ ตม.กดคอมพ์ปุ๊บ ใบหน้าและรายชื่อในทะเบียนประวัติอาชญากร บุคคล "ห้ามออกนอกประเทศ" จะเด้งปั๊บ
   
ถูกจับทันที!
   
แต่อาชญากรหนีหมายจับ ไม่ถูกจับ เพราะ "ด้วยวิธีพิเศษ" ที่เป็นเช่นนั้นด้วยเหตุผลใด ผมคิดว่า อัยการ-ดีเอสไอ-ต่างประเทศ และ ตม.น่าจะเป็นผู้อธิบายให้สังคมได้เข้าใจ ปล่อยให้เขานินทากัน ไม่ดีหรอก
   
ในส่วนที่เป็นเขตอำนาจอัยการพึงปฏิบัติ และในส่วนที่ถูกหาเป็นผู้จ่ายเงินซื้อตั๋วพาพยานหนีไปซุกไว้ดูไบ ตรงนี้ พล.ต.ท.สมคิดได้ทำหนังสือถึงท่านอัยการสูงสุด ผ่าน "นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล" อธิบดีอัยการสำนักคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกอัยการไปแล้วหลายวันก่อน
   
ประเด็นหลัก นอกจากให้อัยการประสานดูไบ ส่งตัว พ.ต.ท.สุวิชชัยกลับมาในฐานะ "ผู้ร้ายข้ามแดน" แล้ว ยังให้สอบสวนทำความจริงให้กระจ่างในพฤติกรรมอัยการบางคน เช่น นางอินทรานี สุมาวงศ์ อัยการพิเศษ ฝ่ายกิจการต่างประเทศ ๒ เป็นต้น
   
พล.ต.ท.สมคิดอ้างหลักฐานว่า เป็นผู้จ่ายเงินซื้อตั๋วเครื่องบินให้ทั้ง พ.ต.ท.สุวิชชัยและดีเอสไอ ในลักษณะพาพยานอันเป็นอาชญากรหนีออกนอกประเทศ ด้วยเจตนาไม่สุจริตบางอย่าง
   
แต่ดูเหมือนท่านจุลสิงห์ วสันตสิงห์ คล้ายหนังสือยังไม่ถึงมือ หรือด้วยเห็นไม่สำคัญ หรือด้วยยังหาคำตอบเป็นทางออกไม่ลงตัว หรือด้วยอุ้มสมเพราะรู้เห็น หรือด้วยอยู่ระหว่างบูรณาการเรื่องราว
   
จึงไม่ปรากฏว่า ท่าน...ในฐานะอัยการสูงสุด ได้แสดง "ความสูงสุด" ด้วยจริยธรรม ด้วยคุณธรรม ด้วยดุลยธรรม และด้วยความรับผิดชอบตามตำแหน่งหน้าที่ "อย่างใด-อย่างหนึ่ง" ออกมา ดังที่เรียกกันว่า "รู้ร้อน-รู้หนาว" ต่อพฤติกรรมฉาวของคนสถาบันอัยการเลย!?
   
ระหว่างนี้ ผมปะติด-ปะต่อเรื่องราวจากแฟ้มข่าว ก็เกิดประเด็นสงสัยฝากถึงท่านอัยการสูงสุดเพื่อวินิจฉัยด้วยว่า เรื่องอาชญากรพยานปากนี้ ไม่ได้ร่วมมือกันเฉพาะกระทรวงต่างประเทศ-อัยการ-ดีเอสไอ-มหาดไทย เท่านั้น มีความน่าจะเป็นว่า
    "
คนสถานทูตซาอุฯ-ยูเออี" ก็ร่วมรู้-เห็นด้วย!?
   
เพราะพนักงานอัยการ "นายโกวิท ศรีไพโรจน์" ที่ยื่นคำร้องขอศาลส่งประเด็นไปสืบพยานปากนี้ที่ดูไบ อ้างต่อศาลเมื่อ ๗ ม.ค.๕๖ ว่า "พ.ต.ท.สุวิชชัยพำนักอยู่ยูเออี ตามหนังสือกระทรวงการต่างประเทศไทย ลงวันที่ ๗ ม.ค.๕๖ และหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ กรมกิจการคนในชาติและคนต่างชาติ ยูเออี ลงวันที่ ๖ ม.ค.๕๖"?
   
คือยูเออี เป็นผู้แจ้งให้ไทยทราบผ่านกระทรวงต่างประเทศว่า "พ.ต.ท.สุวิชชัยอยูที่นั่น"
   
คำถามจึงมีอยู่ว่า...ทำไมยูเออี หรือดูไบจึงกระตือรือร้น "ร่วมมือ" เป็นพิเศษ รีบแจ้งให้ไทยทราบ แต่กับทักษิณ ก็เป็นอาชญากรหนีคดีอยู่ดูไบเช่นกัน
   
แต่ยูเออีไม่เคยกระตือรือร้นแบบนี้เลย?
   
ก่อนหน้านี้ เมื่อ ๑๑ ก.พ.๕๕ สถานทูตซาอุฯ ก็กระตือรือร้นแจ้งมายังไทยชนิดไม่มีเหตุผลว่า "พ.ต.ท.สุวิชชัยไม่ได้อยู่ที่ซาอุฯ" และต่อมา ๒๖ ธ.ค.๕๕ อัยการอ้างถึงหนังสือสถานทูตยูเออี แจ้งต่อศาลว่า พ.ต.ท.สุวิชชัยอยู่ยูเออี?
   
ทำไมทั้งซาอุฯ ทั้งยูเออี จึงร่วมมือกับไทย "เฉพาะเรื่องนี้" ออกหน้า-ออกตาเป็นพิเศษ และพูดถึงการหลบหนี ในโลกนี้มีหลายร้อยประเทศ ถ้าไม่มีเบื้องหลัง ก็คงมีแต่คนสติไม่สมบูรณ์เท่านั้น ที่จะหนีไปซาอุฯ หรือยูเออี
   
เอาหละ...ถ้ายูเออีเป็นมิตรที่แสนดีบริสุทธิ์ใจ ทำไมอัยการ-กระทรวงต่างประเทศ จึงไม่เดินตามช่องการทูต ประสาน "ตำรวจสากล" ให้จับตัว พ.ต.ท.สุวิชชัยส่งกลับไทย
   
ที่อ้างกันว่า...ไทยกับยูเออีไม่มีสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ผมอยากให้ท่านจุลสิงห์อ่านอะไรซักเล็กน้อย เผื่อท่านจะจำอะไรได้บ้าง
    18
ก.พ.53 ที่ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวนายไมเคิล ไบรอัน สมิธ สัญชาติอังกฤษ อดีตผู้จัดการแผนกทรัพยากรบุคคล บริษัท ลิมิตลิส สำนักงานใหญ่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปดำเนินคดีที่ประเทศยูเออี ในความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร และใช้เอกสารกระทำผิดในการโอนเงินของบริษัทเข้าบัญชีตนเองโดยมิชอบ และฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 268 และ 341 ตามคำร้องขอของอัยการโจทก์
   
ก่อนหน้านี้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประจำประเทศไทย มีคำร้องขอตามหนังสือทางการทูต มายังกระทรวงการต่างประเทศ และมีหนังสือถึงสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอพิจารณาดำเนินการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ตาม พ.ร.บ.ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 มาตรา 8
   
นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศ กล่าวว่า คดีดังกล่าวทางการยูเออีได้ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการทูตมายังอัยการ เพราะไทยกับยูเออีไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่อัยการเห็นว่าเป็นคดีอาชญากรรมพื้นฐาน จึงให้ความร่วมมือในการยื่นคำร้อง จนศาลมีคำสั่งส่งตัว"
   
จำได้หรือยังครับท่านอัยการสูงสุด เราเคยช่วยเขา ถ้าเราร้องขอเขาบ้าง กับแค่ส่งตัวพ.ต.ท.สุวิชชัยอันเป็น "คดีอาชญากรรมพื้นฐาน" มาให้ ทำไมเขาจะไม่ช่วย หากแต่มีเจตนาไม่ขอไปเอง
   
ท่านจุลสิงห์มีคำอธิบายตรงนี้ซักเล็กน้อยไหมครับ?
   
คงอธิบายยากหน่อยกระมัง อธิบายไม่ดีจะขัดกับความจริงที่ปรากฏอยู่ คือนอกจากทั้งไม่ต้องการร้องขอ และทั้งไม่ต้องการให้จำเลยได้ซักค้านพยานปากนี้ในศาลแล้ว อัยการเสียเอง ร่วมดีเอสไอ-กระทรวงต่างประเทศ สมคบกันพาตัวไปซุกไว้ที่ดูไบ
   
เมื่อต่อจิ๊กซอว์แล้วจึงเห็น แขกซาอุฯ กับแขกยูเออี ร่วมเล่นยี่เกกับอัยการ-ดีเอสไอรางๆ!
   
อีกประเด็นที่อัยการและกระทรวงต่างประเทศ "ต้องตอบ" คือ ในเมื่อเขาแจ้งที่อยู่ของผู้ต้องหาหลบหนีชัดเจน ทำไมไม่ดำเนินการตามช่องทางการทูต เพื่อเอาตัวกลับมารับโทษ ตามอำนาจ-หน้าที่ ที่อัยการและกระทรวงต่างประเทศพึงทำ?
   
จำได้ไหม ตอนที่ทักษิณเข้าอเมริกา มีคนรุกเร้าให้นายสุรพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ขอให้สหรัฐส่งผู้ร้ายข้ามแดน นายปึ้งอ้างกับนักข่าวว่าอย่างไร?
    “
โดยหลักการการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่ส่งคำร้องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ผ่านช่องทางการทูตเท่านั้น และในการติดตามตัวเพื่อขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน กระทรวงการต่างประเทศไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่ใช่หน่วยงานผู้ปฏิบัติให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแต่อย่างใด อีกทั้งทางการไทยจะไม่สามารถจัดส่งคำร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังต่างประเทศได้ ถ้ายังไม่มีแหล่งที่อยู่ที่แน่นอน
   
นายสุรพงษ์ นายจุลสิงห์ เคยได้ยินคำนี้ไหม "คำพูดมัดคอตัวเอง" ยูเออีแจ้งหลักแหล่งที่อยู่แน่นอนของ พ.ต.ท.สุวิชชัยให้ทั้งกระทรวงต่างประเทศ และทั้งอัยการทราบแล้ว ทำไมจึงละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
   
หรือเพราะ กู....สูงสุด?

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"อัมมาร"อัดเเนวคิด"เมดิคัลฮับ"ของรมว.สาธารณสุข

"อัมมาร"อัดเเนวคิด"เมดิคัลฮับ"ของรมว.สาธารณสุข ไม่เชื่อว่าจะตกมาถึงการรักษาคนไทย เพราะนโยบายประชานิยมหลังๆมาให้งบจำกัด
นายอัมมาร สยามวาลา
นักวิชาการเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ กล่าวผ่านรายการสถานีวิทยุจุฬา เอฟเอ็ม 101.5 กรณีกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการโครงการเมดิคอลฮับในประเทศไทยโดยพัฒนาโรงพยาบาลรัฐให้ดำเนินการเรื่องนี้ว่า ขอถามว่าหลายโครงการที่จะดำเนินการนั้น กระทรวงไม่สามารถทำอะไรกับโรงเรียนเเพทย์ เเละโรงพยาบาลของกระทรวงกลาโหมได้ เพราะเป็นเเดนอิสระเว้นเเต่รัฐให้งบด้านนี้เเต่โจทย์สำคัญสุดตอนนี้ คือโรงพยาบาลรัฐในการให้การให้บริการคนไทยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค,ประกันสังคม, สวัสดิการข้าราชการตอนนี้โดนจำกัดมาก เพราะความต้องการมีมาก รัฐไม่เคยให้ทรัพยากรเพียงพอเเละไม่ลงทุน โรงพยาบาลศูนย์ในจังหวัดต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ โดยไปดูห้องพักคนไข้สามัญ"ขอพูดว่าทุเรศเเละเเย่มาก สุขลักษณะมีปัญหา ผอ.โรงพยาบาลดำเนินการดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดเเละควรยกย่อง เเต่รัฐบาลที่ใช้นโยบายประชานิยมทุกอย่างเเต่ไม่เคยพูดเรื่องนี้เลยว่าจะทำให้ดีขึ้นทรัพยากรที่ลงไปในด้านนี้จากรัฐนั้นไม่ดีเลยเเละการจำกัดของงบ กระทรวงฮุบงบที่ให้สปสช.มาให้โรงพยาบลของตัวเอง เเละไม่เคยใช้เงินลงทุนของเอกชนเเละกีดกันออกไปตลอด ตอนนี้จะให้โรงพบาลเหล่านี้เข้าโครงการนี้มีคำถามเยอะมาก เช่นการลงทุนด้านที่ขาดเเคลนในมุมมองคือปฏิเสธการให้บริการกับคนไทยโดนให้งบจำกัด เเต่ไปให้บริการเเบบสูงคนต่างชาติ ตรงนี้ตรงกันข้ามกับคำว่าประชานิยม ย้ำว่าโครงการนี้ไม่ควรดำเนินการ เพราะโรงพยาบาลเอกชนดำเนินการเเล้ว เเละชาวต่างชาติใช้บริการเกินครึ่งหากเทียบกับคนไทยที่ไปใช้บริการที่นั่น ส่วนโรงพยาบลรัฐนั้นยังพบว่าเด็กตาย เพราะม่มีเครื่องช่วยหายใจเเละเงินในระบบเมดิคอลฮับนั้นไม่เชื่อว่าจะตกมาถึงการรักษาคนไทย" นายอัมมาร กล่าว
นายอัมมาร กล่าวว่า ขอใช้คำว่าทุเรศ ที่รัฐจำกัดงบให้กับสามโครงการที่ระบุ เพราะรัฐบาลเเช่เเข็ง 3 โครงการนี้ 3ปีโดยไม่มีหลักฐานการเเช่เเข็งเคยอยู่กับสปสช.ที่จะเสนอเพิ่มต้นทุนการรักษาที่สูงขึ้นตามหลักฐานข้อเท็จจริงเเต่รัฐ เเละสำนักงบประมาณเกี่ยงเเละขอปรับ ตอนนี้จะนำเงินที่มาโป๊ะนั้นเงินนี้จะใช้กับคนไทยหรือไม่ การนำทรัพยากรของคนไทยที่จนไปให้คนรวยมันเเย่เเล้ว เเต่โครงการนี้อาจนำไปให้คนต่างชาติที่รวยนั้นยิ่งเเย่กว่า ระบบของ3โครงการนั้น การให้บริการก็เเย่คนไข้รอ 3 ชั่วโมง เพื่อพบหมอสองนาที ตอนนี้ยังมีข้อจำกัดด้านบุคลากรด้วย
"ถามว่ารัฐบาลจะเพิ่มการผลิตด้านนี้หรือไม่ ย้่ำว่าบุคลากรในกระทรวงนี้ไม่พอ เเต่เมดิคอลฮับนั้นทราบว่าผู้บริหารกระทรวงนี้ ฝันหวานว่าจะมีบุคลากรจากเอกชนเข้ามาช่วยนั้นใช้เงินเท่าใดในการดึงตัวมา เเละควรปรับปรุงระบบของไทยให้ดีสุดเเละช่วงชีวิต ที่พบว่าสิ่งดีที่สุดที่พบจากนโยบายรัฐบาลพี่ชายของรัฐบาลชุดนี้ นั้นคือคนไทยทุกคนมีสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาลของรัฐเเละเอกชนเเบบเท่าเทียม เเต่เมื่อให้มาเเล้วก็ทิ้งไปเลย รัฐบาลของพี่ชายให้งบจำกัดมาก เพราะจริงจังตอนเริ่ม เเละได้คะเเนนเสียง จากนั้นก็ทิ้งไป งบก็จำกัดทุกปี ทั้งที่รายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น เพราะนำไปใช้โครงการประชานิยมด้านอื่น วันนี้ยังซ้ำเติมจากหัวข้อข้างต้นอีก รัฐบาลพรรคไทยรักไทยในช่วงหนึ่ง คือยุคที่นายพินิจ จารุสมบัติเป็นรมว.สาธารณสุข เพิ่งให้งบเพิ่มหลังขาดเเคลนทุกปี เเต่จากนั้นก็มีนโยบายบีบเอกชนไม่ให้บริการคนไทย ทำให้เอกชนรับต่างชาติเเละคนไทยที่มีฐานะ ตรงนี้ดูดทรัพยากรไปจากโรงพยาบาลรัฐ เเละรัฐบาลก่อนรัฐบาลไทยรักไทยในการผลิตบุคลากร เช่น เเพทย์เรียน 6 ปีใช้งบ 2.5 ล้านบาท เเละหากส่วนที่ขาดไปนั้น รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเเทนนักศึกษาเเพทย์เเต่โดนจำกัดจากเเพทยสภาบางด้าน เเละยังมีเงื่อนไขจากรัฐที่มีต่อนักศึกษาเเพทย์เช่นทำงานใช้ทุน หรือจ่ายเงินชดเชย รัฐอุดหนุนการผลิตเเพทย์ที่จำกัด เเละทำให้รายได้เเพทย์ดีกว่าข้าราชการอื่นๆ เเต่เป็นนโยบายคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เเละซ้ำเติมด้วยเมดิคอลฮับ"นายอัมมาร กล่าวย้ำ
นายอัมมาร์ กล่าวว่า ส่วนข้อเสนอนั้นไม่มี เเต่ขอให้รัฐบาลคิดว่าควรมองภาพรวมของโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงนั้นมีปัญหาเเละข้อจำกัดใด ควรเเก้ไขตรงนี้ เเละควรใช้ประชานิยมในด้านนี้สักนิดกับคนไทย โดยผู้บริหารรัฐบาลเเละกระทรวงควรไปดูสภาพจริงๆ ที่ห้องพักคนไข้สามัญ

แดงร้อน




แดงร้อน! อำมาตย์เต้นสุดฉุน ค้อนปลอมเบรกโต้ ศิริโชคแขวะสั่งเผาเมือง

ชินวัฒน์ แท็กซี่แดงอาศัยช่วงหารือสภา เอาภาพ พงศพัศหาเสียงภาพหลังเป็นไฟไหม้โวยกลางที่ประชุม สับทำพรรคเสียหาย อ้างเจ้าของอาคารไม่เชื่อฝีมือ นปช.เผา เจอ สมศักดิ์สอนธรรมเนียมการประชุม ด้าน ศิริโชคยันโพสต์รูปลงเฟซบุ๊กเอง เขียนชัดตัดต่อ บอกหวังระลึกถึงเหตุเผาเมืองตามคำพูด ณัฐวุฒิขณะที่ อำมาตย์เต้นได้ยินจะลุกโต้ เจอประธานสภาฯ เบรกหัวทิ่ม บอกพูดไปไม่จบ ทำเจ้าตัวสุดฉุนลุกจากเก้าอี้เดินออกห้อง แถมไม่เคารพประธานตามมารยาท
     
       วันนี้ (7 ก.พ.) ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ช่วงหารือ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้นำภาพของรถแห่หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย ที่มีแกนนำพรรคเพื่อไทยร่วมหาเสียง โดยภาพแบ็กกราวนด์เป็นรูปไฟไหม้ ซึ่งได้มาจากเว็บไซต์เครือข่ายออนไลน์ว่า ภาพที่นำมาเผยแพร่ดังกล่าวถือว่าสร้างความเข้าใจผิด และสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของพรรคเพื่อไทยและสมาชิกพรรคเพื่อไทย เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองที่ผ่านมาเชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อให้เหมาะสมต่อการสั่งปราบประชาชน เพราะเจ้าของอาคารไม่เชื่อว่าคนเสื้อแดงจะเป็นผู้กระทำ เพราะเป็นช่วงที่ยุติการชุมนุมไปแล้ว นอกจากนั้นแล้วในปี 2552 ที่มีเหตุการณ์เผารถโดยสารประจำทาง จำนวน 52 คัน ขณะนี้ยังไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีคนที่ขโมยรถโดยสารประจำทางมาเผา ดังนั้น ขอฝากไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมืองมือบอนที่ไม่หวังดีต่อประเทศด้วย
     
       นายสมศักดิ์กล่าวชี้แจงว่า ทราบว่านายชินวัฒน์เป็น ส.ส.ใหม่ ขอทำความเข้าใจว่าในช่วงหารือจะไม่อนุญาตให้นำประเด็นการเมืองมาหารือ แต่อนุญาตให้นำเฉพาะประเด็นความเดือดร้อนของประชาชนเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วจะให้เวลาหารือคนละ 2 นาที แต่นายชินวัฒน์ ใช้ไป 4 นาทีตนเห็นสมควรแล้ว
     
       จากนั้นได้เกิดเหตุประท้วงตอบโต้ไปมา โดยนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ที่นำภาพดังกล่าวมาลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวใช้สิทธิ์อภิปรายเพราะถูกพาดพิงว่า ในเฟซบุ๊กตนระบุชัดเจนว่าเป็นภาพตัดต่อ และเมื่อเห็นภาพแล้วทำให้ตนระลึกถึงเหตุการณ์เผาบ้านเมือง ซึ่งจะมีความผิดอย่างไร อีกทั้งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง และคนที่บอกว่า เผาเลย ผมรับผิดชอบเองคือนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
     
       ทำให้นายณัฐวุฒิขอใช้สิทธิ์ชี้แจงเพราะถูกพาดพิง แต่นายสมศักดิ์ไม่อนุญาต แม้นายณัฐวุฒิจะชี้แจงว่าพาดพิงทำให้เสียหาย แต่นายสมศักดิ์ก็ไม่อนุญาต และให้เหตุผลว่าเมื่อมีการนำประเด็นการเมืองมาพูดก็ไม่มีทางจบ ตนจะไม่อนุญาตใครทั้งนั้น คนที่เริ่มพูดคือคนหารือ และหากตนให้สิทธิ์พาดพิงก็ไม่จบ ดังนั้นขอเข้าสู่วาระกระทู้ถามสด
     
       เมื่อนายสมศักดิ์พูดตัดบทดังกล่าว ทำให้นายณัฐวุฒิลุกออกจากที่นั่งรัฐมนตรีทันที โดยก่อนเดินออกไปได้ยกมือรับไหว้นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งนั่งเตรียมตัวชี้แจงกระทู้ถามสด และนายณัฐวุฒิได้ยกมือชูนิ้ว 2 นิ้วก่อนเดินออกไป โดยไม่ได้หันมามองนายสมศักดิ์ หรือทำความเคารพประธานในที่ประชุม ตามที่มีธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าเมื่อเดินเข้าห้องประชุมหรือออกจากห้องประชุม ต้องแสดงความเคารพประธานในที่ประชุมก่อน
       








































































ชินวัฒน์ แท็กซี่แดงอาศัยช่วงหารือสภา เอาภาพ พงศพัศหาเสียงภาพหลังเป็นไฟไหม้โวยกลางที่ประชุม สับทำพรรคเสียหาย อ้างเจ้าของอาคารไม่เชื่อฝีมือ นปช.เผา เจอ สมศักดิ์สอนธรรมเนียมการประชุม ด้าน ศิริโชคยันโพสต์รูปลงเฟซบุ๊กเอง เขียนชัดตัดต่อ บอกหวังระลึกถึงเหตุเผาเมืองตามคำพูด ณัฐวุฒิขณะที่ อำมาตย์เต้นได้ยินจะลุกโต้ เจอประธานสภาฯ เบรกหัวทิ่ม บอกพูดไปไม่จบ ทำเจ้าตัวสุดฉุนลุกจากเก้าอี้เดินออกห้อง แถมไม่เคารพประธานตามมารยาท
     
       วันนี้ (7 ก.พ.) ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ช่วงหารือ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้นำภาพของรถแห่หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย ที่มีแกนนำพรรคเพื่อไทยร่วมหาเสียง โดยภาพแบ็กกราวนด์เป็นรูปไฟไหม้ ซึ่งได้มาจากเว็บไซต์เครือข่ายออนไลน์ว่า ภาพที่นำมาเผยแพร่ดังกล่าวถือว่าสร้างความเข้าใจผิด และสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของพรรคเพื่อไทยและสมาชิกพรรคเพื่อไทย เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองที่ผ่านมาเชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อให้เหมาะสมต่อการสั่งปราบประชาชน เพราะเจ้าของอาคารไม่เชื่อว่าคนเสื้อแดงจะเป็นผู้กระทำ เพราะเป็นช่วงที่ยุติการชุมนุมไปแล้ว นอกจากนั้นแล้วในปี 2552 ที่มีเหตุการณ์เผารถโดยสารประจำทาง จำนวน 52 คัน ขณะนี้ยังไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีคนที่ขโมยรถโดยสารประจำทางมาเผา ดังนั้น ขอฝากไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมืองมือบอนที่ไม่หวังดีต่อประเทศด้วย
     
       นายสมศักดิ์กล่าวชี้แจงว่า ทราบว่านายชินวัฒน์เป็น ส.ส.ใหม่ ขอทำความเข้าใจว่าในช่วงหารือจะไม่อนุญาตให้นำประเด็นการเมืองมาหารือ แต่อนุญาตให้นำเฉพาะประเด็นความเดือดร้อนของประชาชนเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วจะให้เวลาหารือคนละ 2 นาที แต่นายชินวัฒน์ ใช้ไป 4 นาทีตนเห็นสมควรแล้ว
     
       จากนั้นได้เกิดเหตุประท้วงตอบโต้ไปมา โดยนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ที่นำภาพดังกล่าวมาลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวใช้สิทธิ์อภิปรายเพราะถูกพาดพิงว่า ในเฟซบุ๊กตนระบุชัดเจนว่าเป็นภาพตัดต่อ และเมื่อเห็นภาพแล้วทำให้ตนระลึกถึงเหตุการณ์เผาบ้านเมือง ซึ่งจะมีความผิดอย่างไร อีกทั้งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง และคนที่บอกว่า เผาเลย ผมรับผิดชอบเองคือนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
     
       ทำให้นายณัฐวุฒิขอใช้สิทธิ์ชี้แจงเพราะถูกพาดพิง แต่นายสมศักดิ์ไม่อนุญาต แม้นายณัฐวุฒิจะชี้แจงว่าพาดพิงทำให้เสียหาย แต่นายสมศักดิ์ก็ไม่อนุญาต และให้เหตุผลว่าเมื่อมีการนำประเด็นการเมืองมาพูดก็ไม่มีทางจบ ตนจะไม่อนุญาตใครทั้งนั้น คนที่เริ่มพูดคือคนหารือ และหากตนให้สิทธิ์พาดพิงก็ไม่จบ ดังนั้นขอเข้าสู่วาระกระทู้ถามสด
     
       เมื่อนายสมศักดิ์พูดตัดบทดังกล่าว ทำให้นายณัฐวุฒิลุกออกจากที่นั่งรัฐมนตรีทันที โดยก่อนเดินออกไปได้ยกมือรับไหว้นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งนั่งเตรียมตัวชี้แจงกระทู้ถามสด และนายณัฐวุฒิได้ยกมือชูนิ้ว 2 นิ้วก่อนเดินออกไป โดยไม่ได้หันมามองนายสมศักดิ์ หรือทำความเคารพประธานในที่ประชุม ตามที่มีธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าเมื่อเดินเข้าห้องประชุมหรือออกจากห้องประชุม ต้องแสดงความเคารพประธานในที่ประชุมก่อน
       

เวทีวิพากษ์น้ำเดือด

เวทีวิพากษ์น้ำเดือด"ปราโมทย์"ลั่นสร้างฟลัดเวย์ต่อให้ 20 ปีก็สร้างไม่เสร็จ สภาวิศวกรตั้ง 8 ประเด็น ส่อเค้าสะดุด หวั่นซ้ำรอย โฮปเวลล์-โรงพัก
 เปิดเผยว่า การจัดงานวิพากษ์โครงการบริหารจัดการน้ำของทางรัฐบาล โดยขณะนี้ได้มีมติอนุมัติ 6 กลุ่มบริษัท ที่ผ่านขั้นตอนการคัดเลือกการเสนอกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น แต่ทาง วสท. ยังเห็นว่าการเสนอกรอบแนวคิดที่ข้ามขั้นตอน จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการก่อสร้างในระยะยาวอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาประสบการณ์ความผิดพลาด จากการตัดสินใจที่ข้ามขั้นตอนของรัฐบาลไทย ก็มีให้เห็นอยู่หลายโครงการ ทั้งโครงการโฮปเวลล์ โครงการโรงกำจัดน้ำเสียคลองด่าน และล่าสุดโครงการก่อสร้างโรงพักใหม่ทั่วประเทศ
นายสุวัฒน์ กล่าวว่า เมื่อประสบการณ์ที่ล้มเหลวในอดีต ยังคงเป็นอนุสรณ์ให้เห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้ ทาง วสท.จึงได้ตั้งข้อสังเกต ผ่านมุมมองของนักวิชาชีพและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ ออกเป็น 8 ประเด็น ดังนี้ 1.การเสนอกรอบแนวคิดที่ข้ามขั้นตอน โดยบ้างโครงการก่อสร้างยังไม่ผ่านการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และทำประชาพิจารย์จากภาคประชาชน จึงอาจเกิดการต่อต้านจากภาคประชาชนได้ ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาในการดำเนินงานไม่เป็นไปตามรายงานกรอบแนวคิด
2.การพิจารณาคัดเลือกขั้นตอนสุดท้าย จากทางรัฐบาลที่กำหนดไว้ 3 ข้อ คือ ด้านเทคนิค เวลา และราคาในการก่อสร้างนั้น สรุปแล้วรัฐบาลจะใช้ดุลยพินิจอะไร ในการพิจารณาหลักเกณฑ์ที่เป็นกลาง เนื่องจากทั้ง 6 กลุ่มบริษัท ต่างคนต่างนำเสนอรายงาน ซึ่งในทางวิศวกรรมการ ถือว่าการตัดสินใจจากรายงาน ที่เขียนมาแตกต่างกัน ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก 3.โครงการที่น่าจะเกิดผลกระทบอย่างแน่นอน จากการต้องต่อสู้กับภาคประชาชน คือ โครงการฟลัดเวย์ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการตกลง กับภาคประชาชนอย่างชัดเจน ว่าจะให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบอพยพไปตรงไหน หรือมีการตกลงราคาค่าเวนคืนพื้นที่แล้วหรือยัง
4.โครงการก่อสร้างหลายแห่งอาจต้องเสียเวลาจ้างบริษัท พิจารณาความเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนก่อสร้าง เพราะว่าการดำเนินการก่อสร้างจะต้องเกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน
5.การก่อสร้างจะต้องใช้บุคลากรผู้คุมงานก่อสร้างจำนวนมาก เพราะโครงการก่อสร้างทั้งหมด กระจายไปตามลุ่มน้ำต่างๆ ดังนั้นจะควบคุมงานกันอย่างไร
6.จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง เนื่องจากรายละเอียดการทำสัญญาไม่ชัดเจน เช่น ถ้าหากว่าสัญญานั้นครอบคลุมทุกโครงการก่อสร้างในโมดูลลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน แต่หากว่าในลุ่มน้ำยมผู้รับเหมา ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ เวลาในการก่อสร้างจะต้องยืดไปอีก ซึ่งอาจเกิดการฟ้องร้อองเป็นคดีความกันได้ ดังนั้นรัฐบาลได้คิดไว้หรือเปล่าว่าจะต้องแยกทำสัญญาหรือไม่
7.อาจเกิดการทิ้งงานจำนวนมากจากผู้รับเหมา เพราะว่าเป็นไปไม่ได้ที่กลุ่มบริษัทที่ได้รับงานไปเพียงบริษัทเดียว จะสามารถดำเนินการก่อสร้างเองได้ทั้งหมด จึงต้องมีการจ้างบริษัทซับคอนเทคจำนวนมากเข้ามาช่วย ซึ่งจะเกิดการหักค่าหัวคิวกันเป็นว่าเล่น สุดท้ายจะเหลืองบประมาณก่อสร้างตกถึงบริษัทใหญ่เพียงไม่มาก จนเกิดเป็นปัญหาในที่สุด
และ 8.กลุ่มบริษัทที่มาร่วมกันเสนอกรอบแนวคิดไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน ดังนั้นหากมีการแบ่งงานกันรับผิดชอบ และเกิดบริษัทใดบริษัทหนึ่งก่อสร้างไม่เสร็จ จะต้องเกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งขึ้นมาอย่างแน่นอน
ติดกระดุมเม็ดแรกผิด ทำไทยติดกับดัก
นายปราโมทย์ ไม้กลัด กล่าวว่า แผนแม่บททั้ง 10 แผนที่ออกมาจาก กยน. เป็นแผนคิดคำนึง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 2 สัปดาห์ โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และข้อมูลเก่าจากหลายหน่วยงาน จากนั้นมีการกำหนดงบประมาณ 3.5 แสนล้าน โดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ต่างชาติมั่นใจว่าไทยมีความตั้งจริง โดยหลายโครงการคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการก่อสร้างเขื่อน ทั้งๆ ที่ขัดกับรัฐธรรมนูญของประเทศ
ระยะเวลาสั้นๆ ในการร่างแผน โดยที่ไม่มีการศึกษารายละเอียด แนวคิดคำนึงออกมาได้อย่างไรไม่มีใครตอบ หากปล่อยให้เดินหน้าต่อไป ประเทศก็จะติดกับดัก เกิดเป็นอนุสาวรีย์โฮปเวล สถานีตำรวจ ที่ลุยสร้าง จ้างบริษัท แต่เอาเข้าจริงเป็นไปไม่ได้อดีต กยน. กล่าว
เขาตั้งข้อสังเกตว่า โครงการฟลัดเวย์ กรอบเวลาที่ตั้งไว้ 5 ปี ไม่มีทางแล้วเสร็จ ต่อให้ 20 ปีก็ ไม่มีทางสร้าง อย่าลืมว่าบริษัทต้องเผชิญกับปัญหาค่าเวรคืน แรงต่อต้านจากคนในพื้นที่ ซึ่งเชื่อว่าหลายโครงการจะเดินหน้าไปได้ยาก
ด้าน ดร.อภิชาติ อนุกูลอำไพ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ยอมรับว่าโครงการบริหารจัดการน้ำภายใต้งบประมาณ
3.5 แสนล้านบาท เป็นโครงการใหญ่ ที่ทุกคนแสดงความเป็นห่วงได้ เพื่อเกิดประโยชน์เต็มที่ โดยสาเหตุที่รัฐบาลต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติเข้ามา เพราะการฝากชีวิตไว้กลับคนกลุ่มเดิมไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้น ถึงเวลาที่ต้องหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเสนอกรอบแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาน้ำของประเทศ
ประเทศต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่เพื่อใม่ให้บอบซ้ำไปมากกว่านี้ โดยหลังจากที่ กยน. ได้กำหนด 10 แบล๊คโบน หรือโมดูลจัดการน้ำ เพื่อเป็นมาสเตอร์เพลนให้ กบอ. นำไปปฏิบัติ โดยมีข้อกำหนดให้โครงการแล้วเสร็จตามเงื่อนเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหลายฝ่ายห่วงว่าจะข้ามขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน
ในทีโออาร์ได้กำหนดชัดเจนในขั้นตอนการออกแบบก่อสร้าง โดยกำหนดให้รับประกันราคาสูงสุด โดยไม่มีการปรับราคาในภายหลัง ซึ่งบริษัทที่ชนะการประมูลจะต้องบริหารจัดการความเสี่ยงด้านงบประมาณก่อสร้าง ตลอดจนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ตามกฎหมายไทย ไม่ใช่ละเลย หรือข้ามขั้นตอนนี้ไปตัวแทน กบอ. อธิบาย และว่า ทุกขั้นตอนเป็นไปตามระเบียบ ถ้ายังไม่มีการก่อสร้าง จะยังไม่จ่ายเงิน รัฐบาลจะไม่ยอมเสียค่าโง่ซ้ำรอยที่ผ่านมา
กรอบข้อเสนอแนวคิดของกลุ่มบริษัทเอกชน ซึ่งถือเป็นสมบัติของรัฐบาล จะนำมากำหนดเป็นทีโออาร์ฉบับใหม่ เพื่อใช้เป็นข้อสอบใหม่ เป็นโจทย์เดียวที่มีความชัดเจน ซึ่งแต่ละกลุ่มบริษัทที่เข้ารอบ 2 ต้องกลับไปทำข้อเสนอเข้ามาใหม่เพื่อตัดสินในรอบสุดท้าย เดือนเมษายน
หลักเกณฑ์ 3 ข้อที่ กบอ. ใช้ในการตัดสินผู้ชนะการประมูล คือ คุณสมบัติด้านเทคนิค ราคา และเวลาในการก่อสร้าง โดยรัฐบาลได้กำหนดกรอบเวลาไว้ที่ 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการจัดการน้ำของประเทศ ในเมื่อเราไม่รู้ว่าภัยพิบัติจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ แต่จะให้รอ 15 ปี 20 ปี คงไม่ได้ดร.อภิชาติกล่าว
หลังจากได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว กบอ.จะดำเนินการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา 3 กลุ่ม ได้แก่ 1 Project Management Consultant ทำหน้าที่บูรณาการระหว่าง 10 โมดูลให้เชื่อมโยงกัน 2 Consultant Engineering รับผิดชอบด้านการออกแบบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฏหมายไทย และ 3 Project super vision ทำหน้าที่คำนวนราคา และงบประมาณ
ในทุกขั้นตอนมีผู้รับผิดชอบดูแล ไม่ใช้ระบบเหมาจ่าย บริษัทไม่มีโอกาสขอเงินเพิ่ม มีแต่โอกาสได้เงินน้อยลง มีการตรวจสอบบริษัทที่เข้ามารับงานต่อ เนื่องจากบริษัทเดียวทำงานเองทั้งหมดไม่ได้ อาจจำเป็นต้องมีบริษัทย่อยๆ มารับงานไปเขาอธิบาย
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้จากเวทีวิพากษ์นี้คือข้อเสนอ ให้กลุ่มบริษัทรับผิดชอบร่วมในกรณีที่การก่อสร้างเดินหน้าไปไม่ได้ การฟ้องร้อง ความรับผิดชอบต้องเป็นของบริษัทที่ได้ทำสัญญาร่วมกัน โดย กบอ. จะกลับไปหารือเพื่อเขียนข้อกฎมายให้รัดกุมมากขึ้น
ดร.อภิชาติ ทิ้งท้ายว่า ข้อเสนอกรอบแนวคิดจากภาคเอกชน ทำให้เห็นว่า มีหลายข้อเสนอที่วิศวกรไทยอาจมองข้าม เช่น แนวทางการปรับระดับน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล แนวทางการแก้ปัญหาคอขวดที่อยุธยา ซึ่งเป็นข้อเสนอจากบริษัทต่างชาติทั้งสิ้น โดยเขาได้โยนคำถามให้กับวิศวกรไทยว่า ที่ผ่านมาได้ทำอะไรให้กับรัฐบาลบ้าง หลายโครงการที่ผ่านมายังมีข้อผิดพลาด ทั้งเรื่องการวางท่อ สร้างถนน ซึ่งวิศวกรรุ่นใหม่ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศ