วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทความไทยโพสต์

อย่าให้พ่อกูกลับมาได้ก็แล้วกัน!


ไม่รู้ว่าผ่านตากันไปบ้างหรือยังกับบทความที่ชื่อ "ศาลเจ้า" ไม่ใช่ "ศาลราษฎร" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่วางตลาดเมื่อสัปดาห์ก่อน
   
เนื้อหาน่าสนใจ ขอยกมาให้อ่านทั้งยวงนะครับ

    "
แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของฝ่ายตุลาการ เป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก?ไว้กับสถาบันพระมหากษัตริย์?เหมือนกับสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่?คลุมเครือในระบอบประชาธิปไต?ย เพราะพระมหากษัตริย์ที่เป็น?ฐานของความศักดิ์สิทธิ์นั้น? คือพระมหากษัตริย์ในระบอบอื่น ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
   
ศาลมักอ้างเสมอว่า พิจารณาพิพากษาคดี "ในพระปรมาภิไธย" ซึ่งแปลว่าอะไรไม่ชัดนักระห?ว่างผู้พิพากษาเป็นเพียง "ข้าหลวง" ที่โปรดให้มาทำหน้าที่แทน หรือพระปรมาภิไธยในฐานะที่เ?ป็นตัวแทนของอำนาจอธิปไตยขอ?งปวงชน  พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "The People" ในศาลอเมริกัน หรือ "The Crown" ในศาลอังกฤษ เช่นเดียวกับพระบรมฉายาลักษ?ณ์ที่ติดไว้ในห้องพิจารณาคด?ีของศาลทุกแห่ง หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ห?รือบุคลาธิษฐานของอำนาจอธิป?ไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย
   
ความคลุมเครือเช่นนี้ลามไปถึงการแต่งกาย, ท่านั่ง, หรือคำพูดของผู้เข้าฟังหรือ?ร่วมในการพิจารณาคดีด้วย เช่น ห้ามแต่งกาย "ไม่เรียบร้อย", ห้ามนั่งไขว่ห้าง, ฯลฯ ทำให้ไม่ชัดนักว่าผู้เข้าฟั?งหรือร่วมในการพิจารณาคดี กำลัง "เข้าเฝ้า" หรือเพียงแต่อยู่ในห้องพิจา?รณาคดีของศาลในประเทศประชาธิปไตยกันแน่
    "
หมิ่นศาล" หมายถึงอะไรกันแน่ ระหว่างการหมิ่น "ข้า-หลวง" ซึ่งกำลังทำหน้าที่แทนพระเจ้าแผ่นดิน หรือ "ศาล" ในความหมายถึงกระบวนการพิจา?รณาคดี ที่หากไปขัดขวางด้วยประการต่างๆ ย่อมถือว่า "หมิ่น" เพราะทำให้กระบวนการดังกล่า?วไม่อาจดำเนินไปอย่างเป็นธร?รมแก่ทุกฝ่ายได้ ความคลุมเครือนั้นเป็นจราจร?สองทางครับ นอกจากทำให้ฝ่ายหนึ่งงงแล้ว? ก็ยังทำให้ตัวเองงงด้วย  อำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรม?นูญ หรือศาลอะไรก็ตามแต่ ในระบอบประชาธิปไตย ย่อมตั้งอยู่บนกฎหมายอย่างเ?คร่งครัด ไม่มากและไม่น้อยไปกว่าที่ก?ฎหมายกำหนด

   
แตกต่างจากรับสั่งของพระเจ้?าแผ่นดิน ซึ่ง "ข้าหลวง" ต้องตีความเอาเองว่า ทรงมุ่งประสงค์สิ่งใดกันแน่? แล้วก็ปฏิบัติให้ต้องตามพระ?ราชประสงค์
   
ความ "ศักดิ์สิทธิ์" ของศาลเพิ่งสร้างขึ้นไม่นานมานี้เอง หาได้เป็นมรดกตกทอดมาจากยุค?โบราณไม่
   
แต่ความศักดิ์สิทธิ์นี้ถูกส?ร้างขึ้นไม่ใช่เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำหน้าที่ของตนต?ามระบอบประชาธิปไตย
   
แต่สร้างขึ้นเพื่อทำให้พ้นจ?ากการถูกตรวจสอบ จึงเอาไปผูกไว้กับสถาบันพระ?มหากษัตริย์
   
ซึ่งย่อมอยู่พ้นไปจากการถูก?ตรวจสอบเช่นกัน"
   
อ่านบทความชิ้นนี้จบ ผมคิดไปหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะอนาคตของประเทศไทย
   
ถ้าวันหนึ่งรัฐธรรมนูญของประเทศไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล โฉมหน้าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร

   
แต่ยืนยันว่าต่างจากปัจจุบันแน่นอน!
   
คำว่า "ในพระปรมาภิไธย" มีการให้คำนิยามกันค่อนข้างหลากหลาย  และถกเถียงในเชิงวิชาการมามาก แต่ความเข้าใจไขว้เขวก็ยังคงดำเนินอยู่เรื่อยๆ เช่นกัน
   
มีบทความอีกชิ้นที่อยากให้อ่านคือ ข้อเขียนของ นายสถิตย์ ไพเราะ ผู้พิพากษาอาวุโส

    "
เหตุใดกฎหมายรัฐธรรมนูญจึงบัญญัติว่า  การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต้องดำเนินการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ บัญญัติไว้เพราะเป็นไปตามแนวโบราณราชนิติประเพณีเดิมและเพื่อให้ศาลนำไปอ้างว่าเป็นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์หรือ นักกฎหมายควรจะต้องรู้ว่า ประเทศไทยปกครองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นระบอบประชาธิปไตย และพยายามจะเป็นนิติรัฐ ไม่ใช่ปกครองตามแนวโบราณราชนิติประเพณี ซึ่งเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ฉะนั้นจึงต้องยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ไม่ใช่ยึดโบราณราชนิติประเพณีเป็นหลัก
   
เมื่อต้นปี  ๒๕๔๙ มีนักการเมืองและคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งทูลเกล้าฯ ขอนายกพระราชทานตามมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ โดยอ้างประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสอธิบายผู้พิพากษาประจำสำนักงานศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน  ๒๕๔๙ ว่าข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมากที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทาน  นายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าไปอ้างมาตรา  ๗ ของรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างที่ผิด มันอ้างไม่ได้ มาตรา ๗ มี ๒ บรรทัด ว่า  อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีหรือตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกพระราชทานไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบขอโทษพูดแบบมั่ว แบบไม่ ไม่ ไม่มีเหตุผล
   
ผมคิดว่าใครก็ตามที่ชอบอ้างโบราณราชนิติประเพณี และอ้างเลยไปถึงว่าเป็นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ ควรจะอ่านพระราชดำรัสที่ผมอัญเชิญมาข้างบนนี้หลายๆ หน เพื่อจะได้เข้าใจใส่เกล้าฯ ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น โดยเฉพาะผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม เพราะมาตรา ๒๖  แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายตุลาการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษาไว้ว่า ต้องเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยบริสุทธิ์ใจ ถ้าไม่รู้ว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยคืออะไรก็คงเลื่อมใสไม่ถูกและขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้พิพากษา
   
ควรจะถามเสียก่อนว่า เหตุใดรัฐธรรมนูญจึงไม่บัญญัติว่า รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์เหมือนผู้พิพากษา  ตุลาการ ทั้งๆ ที่อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารมีความสำคัญมากกว่า  เพราะเป็นผู้มีอำนาจออกกฎหมายให้คนทั้งประเทศต้องปฏิบัติตามรวมทั้งศาลด้วย ดังกล่าวมาแล้ว หรืออย่างน้อยก็เท่ากับอำนาจตุลาการ ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับบัญญัติถึงอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารไว้ก่อนอำนาจตุลาการตลอดมา และตำแหน่งเฝ้า ประธานรัฐสภาและนายกรัฐมนตรีก็นั่งหน้าประธานศาลฎีกา
   
คำตอบ ก็คือเมื่อในทางทฤษฎีหรือทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดให้  พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา และอำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี หมายความว่าในทางปฏิบัติ รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีจะใช้อำนาจแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ ต้องทูลเกล้าฯ ให้องค์พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย  และประธานรัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ จึงจะถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ...
    ...
และมีความหมายด้วยว่า ผู้รับสนองพระบรมราชโองการต้องเป็นผู้รับผิดรับชอบในการออกกฎหมายนั้นๆ หรือในการปฏิบัติราชการบริหารนั้นๆ หากมีคนใดไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการจะไปวิพากษ์วิจารณ์องค์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ การปฏิบัติเช่นนี้ในทางปฏิบัติสามารถกระทำได้ เพราะงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่ต้องทูลเกล้าฯ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่ละปีมีไม่มาก ต่างกับงานของศาล ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ"
   
ที่จริงแล้วผมเห็นไม่ตรงกับท่าน นายสถิตย์ ไพเราะ ในหลายบทความของท่านที่เผยแพร่ในเว็บไซต์คณะนิติราษฎร์ แต่บทความชิ้นนี้ผมเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์
   
เพราะในความจริงที่ว่าจะมีผู้พิพากษาสักกี่คนที่อ้างว่าตัวเองคือตัวแทนในหลวง และให้ปฏิบัติตัวกับเขาอย่างปฏิบัติกับสถาบัน อย่างที่บทความของอาจารย์นิธิเขียนถึง
 
    
ผมไม่เข้าใจว่าอาจารย์นิธิใช้ความคิดในมิติไหน มาเหมารวมว่า การแต่งกาย, ท่านั่ง, หรือคำพูดของผู้เข้าฟังหรือ?ร่วมในการพิจารณาคดีนั้นลามมาจาก ความศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก?ไว้กับสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

   
รวมถึงพระบรมฉายาลักษ?ณ์ที่ติดไว้ในห้องพิจารณาคด?ีของศาลทุกแห่ง ที่อ้างว่าคือที่มาของความคลุมเครือ

   
อย่าว่าแต่ศาลเลยครับ โรงแรมหรูห้าดาวลองลากแตะไปดูซิครับ ยามมันจะถีบกระเด็นกลับออกมา

   
น่าจะมีสักครั้งในชีวิตการเป็นครูของอาจารย์นิธิ ที่มีนักศึกษาแต่งตัวสุภาพเรียบร้อยเดินเข้าไปพบในห้องทำงาน และนั่งตัวตรงฝั่งตรงข้ามที่โต๊ะทำงานของอาจารย์นิธิ และนักศึกษาคนนั้นใช้วาจาสุภาพเรียบร้อย เพราะเขาระลึกว่ากำลังคุยกับอาจารย์ผู้พร่ำสอนให้ความรู้เขาอยู่

   
ผมว่าต้องมี!

   
และต้องมีนักศึกษาที่ก้าวร้าว ที่ใส่รองเท้าแตะเสื้อผ้ายับยู่ยี่มาพบในห้องทำงาน และใช้วาจาสามหาว ไม่รู้ใครศิษย์ใครอาจารย์
   
ทำนองเดียวกับที่นายโอ๊ค พานทองแท้ เขียนในเฟซบุ๊กว่า ไม่เป็นไรครับ...ขู่ได้ขู่ไป...อย่าให้พ่อกูกลับมาได้ก็แล้วกัน

   
ที่จริงผมว่า แค่หัวเรื่อง "ศาลเจ้า" ไม่ใช่ "ศาลราษฎร" ก็บ่งบอกทั้งหมดแล้วว่า อาจารย์นิธิคิดอะไร เพราะ ๒ ศาลนั้นไม่เคยมี เว้นแต่ศาลสถิตยุติธรรม

   
นอกจากเขาคนนั้นไม่พอใจระบอบที่เป็นอยู่ แล้วติไปเสียทั้งหมด หยิบมาแม้กระทั่งการแต่งตัวสุภาพเข้าศาล นั่นแหละครับถึงพูดเรื่องศาลเจ้า ศาลราษฎร  ในความหมายที่ไม่ต่างไปจาก สี่แยกราชประสงค์-ราษฎร์ประสงค์
 
   
ครับ! ศุกร์ 13 นายกฯ ยิ่งลักษณ์จะไปเป็นแขกรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐในประเทศกัมพูชา ฟังดูแปลกๆ แต่ที่ไม่แปลกคือ บริษัทน้ำมันสัญชาติอเมริกันมากันตรึม คงอยากแบ่งเค้กในอ่าวไทยให้เสร็จเร็วๆ

   
ผมเห็นข่าวเด็กกัมพูชาเสียชีวิตด้วยโรคลึกลับในเขมรแล้วถึง 64 ราย   ไม่ได้แช่งนะครับ ถ้าให้ผู้ใหญ่ไร้สำนึกตายเพราะโรคนี้แทน น่าจะเป็นการแลกที่คุ้มค่า แม้จะเป็นการแลกระหว่างผู้ใหญ่ไทยกับเขมรก็เถอะ.
                                         
ผัดกาดหอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น