วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์การเมือง:กรุงเทพธุรกิจ

นักการเมืองต้องยุติ ค้าขายบนความขัดแย้ง

กรณีการต่อต้านของชาวบ้านที่จังหวัดภูเก็ต กับกิจกรรมการเมือง ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งจากการฟังเหตุผลทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุน สะท้อนให้เห็นว่าความขัดแย้งทางความคิดในระดับชาวบ้านยังเป็นไปอย่างเข้มข้นและมีแนวโน้มที่มีศักยภาพในการใช้ความรุนแรงได้ตลอดเวลา แม้ว่าทุกฝ่ายจะบอกอยู่เสมอว่าไม่ต้องการความรุนแรง แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งในระดับนี้ย่อมมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น

 เช่นเดียวกับกรณีของการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ "อากง" ที่เกิดการถกเถียงกันอย่างรุนแรง ดังตัวอย่างของดาราสาวคนหนึ่งที่เขียนข้อความลงเฟซบุ๊ค ซึ่งสร้างความไม่พอใจจากกับกลุ่มคนเสื้อแดง ก็สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งในลักษณะเดียวกับที่จังหวัดภูเก็ต เพียงแต่ประเด็นและความร้อนแรงต่างกันเท่านั้น นั่นหมายความว่าที่หลายคนกังวลประเด็นการเมืองไทยนั้นไม่เกินความจริงนัก ซึ่งความพยายามสร้างความปรองดองที่ผ่านมาของรัฐบาลยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

 คำถามก็คือหากความขัดแย้งของคนในสังคมยังแบ่งเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน และแต่ละฝ่ายก็ไม่เห็นด้วยกับอีกฝ่ายไปเสียทุกเรื่อง สังคมไทยจะมีวิธีการแก้ปัญหากันอย่างไร เพราะอย่าลืมว่าต่างฝ่ายต่างก็อ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญและสิทธิในการแสดงความเห็นทางการเมืองเช่นเดียวกัน อีกทั้งในเรื่องที่เห็นต่างกัน แต่ละฝ่ายก็มีเหตุผลในการอธิบายของตัวเองทั้งสิ้น  และเราเชื่อว่าการเสนอทางออกสำหรับคนที่ไม่เห็นด้วยกับทั้งฝ่ายก็คงไม่ต่างจากที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ

 อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าแปลกมากสำหรับการเมืองไทย เพราะทุกฝ่ายก็มุ่งหาความปรองดอง แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วไม่เคยทำเพื่อให้เกิดความปรองดอง ในทางตรงกันข้าม เรากลับทำในสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดานักการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ที่มาช่วยเพิ่มระดับความขัดแย้งให้เข้มข้นขึ้นทุกครั้งที่มีเหตุขัดแย้งเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่นักการเมืองเหล่านี้รู้ดีและพูดถึงทางออกของความขัดแย้งไม่เว้นแต่ละวัน แต่ไม่พยายามทำให้ความปรองดองเกิดขึ้น

 จากกรณีนักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเข้าร่วมวงกับความขัดแย้งในครั้งนี้ ทำให้การโต้ตอบจนเกิดอารมณ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายยิ่งบานปลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราน่าจะหาวิธีการอีกด้าน เพื่อยุติปัญหาและยังไม่เคยทำกัน ก็คือ ให้นักการเมืองทั้งสองฝ่ายเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดความปรองดอง แต่วิธีการเช่นนี้ถือว่ายากมากสำหรับนักการเมือง เพราะที่ผ่านมา พวกเขามักจะอยู่ท่ามกลางความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น